Page 298 - kpi17073
P. 298

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   297


                      ข้าราชการประจำ จึงทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่ฝ่ายการเมืองแทรกแซงการแต่งตั้ง โยกย้าย
                      ข้าราชการประจำ เพื่อต้องการข้าราชการประจำที่มาทำงานเพื่อฝ่ายการเมือง ส่งผลให้ในระยะ

                      หลังการแต่งตั้ง โยกย้ายข้าราชการเกิดความไม่เป็นธรรมในหลายส่วนราชการ หลักเกณฑ์และ
                      วิธีการในการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้ายข้าราชการประจำนั้น ในที่นี้จะขอกล่าวถึงการแต่งตั้ง
                      โยกย้ายข้าราชการประจำที่เป็นตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง ซึ่งในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ

                      ได้กำหนดให้ข้าราชการประจำกับข้าราชการการเมืองมีบทบาทหน้าที่แตกต่างกัน โดยในส่วนของ
                      ข้าราชการประจำปลัดกระทรวงซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณาแต่งตั้งจะพิจารณาไปตาม

                      กรอบแนวทางของข้าราชการประจำตามความเหมาะสม และความก้าวหน้าในอาชีพของบุคคล
                      ที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ปลัดกระทรวงในฐานะผู้บังคับบัญชาย่อมทราบดีว่าผู้ใต้บังคับบัญชาของตน
                      คนใดมีความเหมาะสม และจะต้องมีเส้นทางในความก้าวหน้าอย่างไรเพื่อประโยชน์ของราชการ

                      ส่วนบทบาทของฝ่ายการเมืองในเรื่องของการแต่งตั้งจะมีหน้าที่ในการพิจารณาความเหมาะสมของ
                      ข้าราชการผู้ได้รับการแต่งตั้งตามที่ปลัดกระทรวงเสนอ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจและ

                      ป้องกันมิให้มีการเล่นพรรคเล่นพวกของฝ่ายข้าราชการประจำ แต่ทุกวันนี้อำนาจที่ต้องการให้
                      แต่ละฝ่ายถ่วงดุลซึ่งกันและกัน กลับกลายเป็นเครื่องมือในการต่อรองเพื่อประโยชน์ของ
                      ฝ่ายการเมือง โดยอาศัยเป็นช่องทางในการแต่งตั้งพรรคพวกของตนเข้าสู่ตำแหน่ง เพื่อต้องการ

                      แสวงหาผลประโยชน์ทางการเมืองโดยอาศัยอำนาจของฝ่ายราชการ ดังนั้น ฝ่ายการเมือง
                      จึงใช้อำนาจในการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลที่ตนสามารถควบคุมและบังคับบัญชาได้มาดำรง

                      ตำแหน่งทางราชการ ด้วยเหตุที่การเมืองต้องการพึ่งอำนาจของข้าราชการประจำจึงมีข้าราชการ
                      บางคนที่มีความรู้ความสามารถไม่เหมาะสม ฉวยโอกาสใช้อำนาจทางการเมืองเข้าสู่ตำแหน่ง
                      โดยไม่คำนึงถึงเพื่อนข้าราชการคนอื่นๆ เพียงเพื่อต้องการตำแหน่งโดยไม่สนใจว่าจะได้มาด้วย

                      วิธีใด และเมื่อได้ตำแหน่งมาด้วยเหตุทางการเมืองข้าราชการผู้นั้นก็จะใช้อำนาจในตำแหน่งของตน
                      ทำงานเพื่อประโยชน์ทางการเมืองมากกว่าที่จะคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน


                            ดังนั้น เมื่อทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำร่วมมือกันกระทำการเพื่อประโยชน์ซึ่งกัน
                      และกันแล้ว ส่งผลให้ความเจริญก้าวหน้าของประเทศและประโยชน์สุขของประชาชนลดน้อยลง

                      เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้เราจะทำอย่างไรต่อไป มีบทเรียนจากต่างประเทศซึ่งจะขอยกมากล่าว
                      ในทีนี้เพื่อเป็นกรณีศึกษาเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบกับประเทศไทย คือ สหรัฐอเมริกา           5

                      โดยสหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องมีการปฏิรูประบบราชการเนื่องจากหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม
                      ในปี ค.ศ. 1870 มีการใช้ระบบอุปถัมภ์ในการแต่งตั้งบุคคลโดยนักการเมืองสูงมาก เกิดการทุจริต
                      คอร์รัปชั่นโดยทั่วไป ข้าราชการไม่มีอิสระในการทำงาน เนื่องจากถูกแทรกแซงจากนักการเมือง

                      พรรคการเมืองอย่างมาก ต่อมาในปี ค.ศ. 1883 รัฐสภาได้ออกกฎหมาย The Service Reform
                      Act โดยมีหลักการคือ


                            1.  การปรับปรุงการบริหารงานของระบบราชการให้มีประสิทธิภาพเท่ากับการบริหารงาน
                      ภาคเอกชน






                         5   เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง “Politic & Administration”                                      การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3
   293   294   295   296   297   298   299   300   301   302   303