Page 295 - kpi17073
P. 295
294 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
แต่งตั้งจากข้าราชการชั้นนั้น ในยุคนี้เป็นยุคที่อำนาจของ ก.พ. ถูกลดและเพิ่มสลับกันเป็นระยะๆ
เนื่องจากเมื่อให้อำนาจ ก.พ. มาก ราชการก็ล่าช้า เมื่อกระจายอำนาจไปที่กระทรวง ทบวง กรม
ก็มีข้อครหาเรื่องไม่เป็นธรรม เล่นพรรคเล่นพวก ไม่มีมาตรฐาน และยิ่งเมื่อมีการแยกข้าราชการ
ออกมากประเภท และมีการตั้งองค์การบริหารงานบุคคลแยกออกจาก ก.พ. จึงเกิดปัญหาขาด
เอกภาพ ไม่เป็นมาตรฐานมากยิ่งขึ้น ปลายยุคนี้ได้มีข้าราชการเพิ่มขึ้นอีก 2 ประเภท คือ มีการ
ออกกฎหมายจัดระเบียบข้าราชการอัยการ พ.ศ. 2503 และข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2507
ระบบ นก น พ 1
มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 เป็นกฎหมายหลัก
ในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือน กฎหมายฉบับนี้เปลี่ยนหลักการสำคัญจากเดิมที่
เคยยึดคนเป็นหลักมาเป็นยึดงานเป็นหลัก อาจกล่าวได้ว่าการเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับนี้เป็นการปฏิรูปการบริหารงานบุคคลในราชการครั้งสำคัญ สาระ
สำคัญของการเปลี่ยนแปลงมีดังนี้
5.1 ยกเลิกชั้นประจำตัวข้าราชการมาใช้เป็นระบบตำแหน่งตามหลักระบบจำแนกตำแหน่ง
5.2 กำหนดให้ข้าราชการได้รับเงินเดือนตามระดับตำแหน่ง
5.3 หลักการให้ข้าราชการประจำมีความเป็นกลางทางการเมือง
5.4 เปลี่ยนหลักการเลือกสรรบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งโดยอาจใช้วิธีกาสอบหรือคัดเลือกได้
ตามเหตุผลหรือความจำเป็นของแต่ละตำแหน่ง และยังเปิดโอกาสให้บรรจุคนเข้ารับ
ราชการในระดับตำแหน่งสูงๆ ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิด้วย
5.5 นำหลักการสับเปลี่ยนหมุนเวียนตำแหน่งบริหารทุก 4 ปี มาใช้
ในปัจจุบันกฎหมายที่บังคับใช้กับข้าราชการประจำคือ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ
พลเรือน พ.ศ. 2551 ซึ่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 35
และมาตรา 45 แบ่งข้าราชการพลเรือนออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุ
แต่งตั้งมี 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
1.1 ตำแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการและรองหัวหน้า
ส่วนราชการระดับกระทรวง กรม และตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่ง
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3 1.2 ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับ
ประเภทบริหาร
กรมและตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการ