Page 292 - kpi17073
P. 292
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 291
นอกจากนี้ มีทัศนะของนักวิชาการที่กล่าวถึงอำนาจของฝ่ายการเมืองได้สอดคล้องกับ
ที่กล่าวไว้ข้างต้น อาทิ
ชัยอนันต์ สมุทวณิช กล่าวว่า การเมืองเป็นเรื่องเกี่ยวกับรูปของรัฐและการจัดระเบียบ
ความสัมพันธ์ภายในรัฐระหว่างผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง โดยเมื่อสังคมมนุษย์ยังมี
ความจำเป็นที่จะต้องมีรัฐบาล คนเราจึงต้องแบ่งออกเป็นสองพวกใหญ่ๆ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่บังคับกับ
ผู้ถูกบังคับเสมอ 1
ณรงค์ สินสวัสดิ์ กล่าวว่า การเมืองเป็นการต่อสู้ช่วงชิง การรักษาไว้ และการใช้อำนาจ
ทางการเมือง โดยที่อำนาจทางการเมืองหมายถึง อำนาจในการที่จะวางนโยบายในการบริหาร
ประเทศหรือสังคม อำนาจที่จะแต่งตั้งบุคคลเพื่อช่วยในการนำนโยบายไปปฏิบัติ และอำนาจที่จะ
ใช้ข้าราชการ งบประมาณ หรือเครื่องมืออื่นๆ ในการนำนโยบายไปปฏิบัติ 2
ชัยอนันต์ สมุทวณิช อธิบายว่า เราจะใช้ความหมายการเมืองดังกล่าวนี้ได้ก็ต่อเมื่อ
ในสังคมนั้นๆ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้รับผลกระทบจากทั้งทางตรงและทางอ้อม
มีความเห็นพ้องต้องกันและยอมรับในกติกาที่กำหนดการใช้อำนาจ เพื่อแบ่งปันสิ่งที่มีคุณค่า
เท่านั้น ส่วนในสังคมที่ยังไม่มีความเห็นพ้องต้องกันเกี่ยวกับกติกาการกำหนดสิ่งที่มีคุณค่า
ในสังคม ชัยอนันต์ อธิบายว่า การเมืองยังคงเป็นเรื่องของการแข่งขันกันเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์
ในการแบ่งปันคุณค่าที่ให้ประโยชน์แก่ฝ่ายตนมากที่สุด เท่าที่จะเป็นได้ หรือ “The competition
for the authority to determine the authoritative allocation of values to society” 3
ข้าราชการประจำ
ข้าราชการประจำมีที่มาจากการสอบแข่งขันตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด
ซึ่งในการสอบแต่ละครั้งมีบุคคลเข้ามาสอบแข่งขันจำนวนมาก และกว่าจะผ่านแต่ละภาค
ที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด ตั้งแต่ ภาค ก. ภาค ข. และภาค ค. ทั้ง 3 ขั้นตอนแล้ว จะเหลือ
บุคคลที่สามารถสอบบรรจุเข้ารับราชการได้ในที่สุด
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีกระแสพระราชดำรัสเกี่ยวกับข้าราชการความว่า
“เวลานี้การศึกษาเจริญขึ้นมากแล้ว จึงเป็นการสมควรที่จะรับเข้าคนเข้าทำราชการ แต่เฉพาะ
ผู้ที่มีความรู้ดี ประกอบกับทั้งเวลานี้ตำแหน่งหน้าที่ราชการก็เต็มหมด มีน้อย ไม่พอกับจำนวน
คนที่อยากเข้ารับราชการ จึงเป็นการจำเป็นที่จะหาวิธีเลือกเฟ้นคนเข้ารับราชการโดยทางเป็น
กลาง เป็นยุติธรรม และให้โอกาสผู้ที่ได้อุตสาหพยายามเล่าเรียน มีความรู้ดี.......” จากกระแส
พระราชดำรัสดังกล่าวแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า หลักความรู้ความสามารถ หลักความเป็นกลาง
1 ชัยอนันต์ สมุทวณิช, ความคิดอิสระ : รวมบทความทางการเมืองระหว่างปี 2511 – 2516 (กรุงเทพฯ :
พิฆเณศ), 2517, หน้า 61.
2 ณรงค์ สินสวัสดิ์, การเมืองไทย : การวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา (กรุงเทพฯ : วัชรินทร์การพิมพ์), 2539, หน้า 3. การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3
3 ชัยอนันต์ สมุทวณิช, รัฐ (กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), 2535, หน้า 4 – 5.