Page 291 - kpi17073
P. 291
290 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
ซึ่งเกี่ยวกับการตัดสินใจเชิงคุณค่าหรือเป็นการแบ่งปันคุณค่าที่มีอยู่ในสังคม โดยรัฐจะตัดสินใจ
กำหนดนโยบายสาธารณะในด้านต่างๆ โดยคำนึงถึงความต้องการของประชาชน และสังคม
บุคคลที่ใช้อำนาจทางการเมืองคือ ฝ่ายการเมือง หรือข้าราชการการเมือง เป็นบุคคล
ที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน หรือได้รับการแต่งตั้งจากผู้มีอำนาจทางการเมืองให้ทำหน้าที่รับ
ผิดชอบกิจการทางด้านการเมือง ซึ่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการเมือง พ.ศ. 2535
มาตรา 4 บัญญัติไว้ว่า ข้าราชการการเมืองได้แก่บุคคลซึ่งรับราชการในตำแหน่งข้าราชการ
การเมือง ดังต่อไปนี้
1. นายกรัฐมนตรี
2. รองนายกรัฐมนตรี
3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
4. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
5. รัฐมนตรีว่าการทบวง
6. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
7. รัฐมนตรีช่วยว่าการทบวง
8. ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
9. ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี
10. ที่ปรึกษารัฐมนตรี และที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
11. เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
12. รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
13. โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
14. รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
15. เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
16. ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
17. เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
18. ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
19. เลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง
20. ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง
ฝ่ายการเมืองมีหน้าที่ในการใช้อำนาจทางการบริหารในการบริหารประเทศ โดยมีหน้าที่
กำหนดนโยบายในการบริหารและพัฒนาประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและ
ประชาชน และเพื่อให้มั่นใจว่านโยบายต่างๆ ของฝ่ายการเมืองจะถูกนำไปปฏิบัติได้อย่างเกิด
ผลสัมฤทธิ์ ฝ่ายการเมืองนอกจากจะมีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายแล้วยังมีอำนาจในการควบคุม
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3 หรือข้าราชการที่ไม่สามารถดำเนินการตามนโยบายได้ ดังนั้น การใช้อำนาจของฝ่ายการเมือง
ตรวจสอบการทำงานของฝ่ายข้าราชการประจำ และมีอำนาจในการโยกย้ายกรณีที่มีหน่วยงาน
ในการกำกับ ตรวจสอบ โยกย้ายข้าราชการประจำ อาจทำให้เกิดการก้าวก่ายในบทบาทและ
อำนาจหน้าที่ของฝ่ายการเมืองต่อฝ่ายบริหารได้