Page 301 - kpi17073
P. 301
300 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
กำลังให้มีความเพียงพอ และกำหนดมิให้เข้ามาเกี่ยวข้องกับฝ่ายประจำ เช่น ยืมตัวไปช่วยงาน
ไม่ได้ เป็นต้น เรื่องอำนาจการบรรจุแต่งตั้งข้าราชการ ก่อนปี 2535 รัฐมนตรีในฐานะเจ้ากระทรวง
มีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการระดับ 11 และ 10 ซึ่งบางครั้งรัฐมนตรีมีการแทรกแซงการแต่งตั้ง
ข้าราชการในตำแหน่งต่างๆ ดังกล่าว สร้างความร้าวรานให้กับข้าราชการประจำอย่างมาก นับเป็น
จุดแตกหักที่สุดที่ฝ่ายการเมืองแทรกแซงราชการประจำ ดังนั้น ในรัฐบาลสมัยที่ นายอานันท์
ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี จึงมีการทำประชาพิจารณ์จากข้าราชการทั้งหมด ให้มีการปรับปรุง
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 โดยให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งบรรจุและ
แต่งตั้งปลัดกระทรวง ส่วนการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการระดับ 10 ลงมา เป็นอำนาจของ
ปลัดกระทรวง เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ของข้าราชการประจำต้องดูแลรับผิดชอบ การแก้กฎหมายนี้
ถือเป็นการตัดอำนาจรัฐมนตรีทำให้ปฏิบัติงานลำบาก เนื่องจากสภาพของระบบราชการการเมือง
ไทยโดยมากเป็นรัฐบาลผสม กระทรวงหนึ่งอาจมีรัฐมนตรีจากหลายพรรครัฐมนตรีแต่ละคน
ก็ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานในแต่ละกรมตามที่กำหนด หากข้าราชการระดับอธิบดีไม่ปฏิบัติงาน
สนองนโยบาย รัฐมนตรีก็ไม่สามารถเปลี่ยนตัวอธิบดีได้เหมือนแต่ก่อน ดังนั้นต่อมาในรัฐบาล
หลายชุดจึงได้พยายามให้มีการแก้กฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนกลับไปเป็นอย่างเดิม
ประการที่ 4 เรื่องการสั่งให้กระทำทุจริต ปัญหาความขัดแย้งที่เป็นการแทรกแซง จากฝ่าย
การเมืองใน 3 ประการแรก ที่กล่าวมาคือ เรื่องนโยบาย วิธีทำงาน การบริหารงานบุคคล
บางครั้งไม่ว่าฝ่ายข้าราชการประจำจะถูกในทุกเรื่อง เพราะเป็นเรื่องความคิดเห็นและมุมมองใน
ทางปฏิบัติ เป็นเรื่องของนานาจิตตัง แต่เรื่องที่ฝ่ายการเมืองสั่งให้ฝ่ายประจำทำผิดกฎหมาย
เป็นการกระทำทุจริตประพฤติมิชอบ ทั้งการประมูล การจัดซื้อจัดจ้าง เมื่อมีการแทรกแซงจาก
ฝ่ายการเมือง กรณีให้กระทำทุจริตประพฤติมิชอบและแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว หนทางปฏิบัติ
ของฝ่ายประจำคือ จะต้องทัดทาน ต้องต่อสู้ และไม่ปฏิบัติตามคำสั่งการ เพื่อปกป้องผลประโยชน์
ของส่วนราชการ ซึ่งนอกจากการทุจริตประพฤติมิชอบแล้ว ยังมีเรื่องของการแสวงหาผลประโยชน์
ส่วนตัว เช่น การสั่งให้ข้าราชการประจำไปทำงานส่วนตัวของฝ่ายการเมือง การให้ไปช่วยงาน
พรรคการเมือง บางครั้งเป็นการล่วงละเมิดทางเพศ ทั้งหมดนี้คือปัญหา
จะเห็นได้ว่าฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำไม่อาจจะแบ่งแยกออกจากกันได้ทั้งสองฝ่าย
ต้องร่วมมือกันในการทำงานตามกรอบอำนาจหน้าที่ของตนเอง ไม่ก้าวก่ายหน้าที่ซึ่งกันและกัน
จึงจะทำให้การทำงานเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน ดังนั้น ดุลอำนาจของทั้งฝ่าย
การเมืองและข้าราชการประจำก็คือการไม่ก้าวก่ายและแทรกแซงอำนาจหน้าที่ซึ่งกันและกัน
ต่างฝ่ายต่างทำงานไปตามกรอบอำนาจหน้าที่ของตนเอง แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะไม่มีการ
ดุลอำนาจของทั้งสองฝ่าย แต่ยังมีเครื่องมือในการกำกับไม่ให้ทั้งสองฝ่ายก้าวก่ายและแทรกแซง
การใช้อำนาจของกันและกัน นั่นก็คือคุณธรรมและจริยธรรมของแต่ละบุคคล ซึ่งนับเป็นเรื่องยาก
แต่ต้องทำให้เกิดขึ้นให้ได้ เพราะหากบุคคลทั้งในฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำมีคุณธรรม
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 3 จริยธรรมแล้ว ผลของการทำงานที่เกิดขึ้นก็ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและ
ประชาชน ทั้งนี้ ในปัจจุบันฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำต่างก็มีกฎหมายกำหนดเกี่ยวกับ
จริยธรรมของตนเอง ดังนี้