Page 266 - kpi17073
P. 266
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 265
1 การล ประ า ร เร เส ้า น้ นรั ส า นประเ ร ป บบส าเ :
กร ก าประเ เ น าร ก ละประเ ัลเบเน
กลุ่มประเทศที่มีรูปแบบรัฐสภาเป็นแบบสภาเดี่ยว คือ มีสภาผู้แทนราษฎรแต่เพียงสภาเดียว
และกำหนดให้เสียงข้างน้อยในสภาสามารถขอให้มีการลงประชามติได้ ได้แก่ ประเทศเดนมาร์ก
ประเทศอัลเบ-เนีย ประเทศฮอนดูรัส ประเทศลักเซมเบิร์ก และประเทศมอนเตรเนโกร ในเมื่อ
ประเทศเหล่านี้ไม่มีวุฒิสภาคอยกลั่นกรองกฎหมายอีกชั้น ทำให้พรรคการเมืองที่ถือเสียงข้างมาก
ในสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจในการออกกฎหมายค่อนข้างมาก ด้วยเหตุนี้ เสียงส่วนน้อยในสภา
(ซึ่งมักจะเป็นพรรคฝ่ายค้าน) จึงจำเป็นต้องมีอำนาจตรวจสอบถ่วงดุลเพื่อป้องกันไม่ให้เสียง
ข้างมากในสภาออกกฎหมายตามอำเภอใจ แต่เนื่องจากรัฐธรรมนูญประเทศฮอนดูรัส ประเทศ
ลักเซมเบิร์ก และประเทศมอนเตรเนโกร กำหนดกติกาไว้ค่อนข้างกว้างโดยให้มีกฎหมายกำหนด
รายละเอียดอีกชั้นหนึ่ง ทำให้เป็นอุปสรรคในการเข้าถึงข้อมูล ในที่นี้จึงขอกล่าวถึงกรณีศึกษาของ
ประเทศเดนมาร์ก และประเทศอัลเบเนียเท่านั้น
รัฐธรรมนูญประเทศเดนมาร์กกำหนดให้เสียงส่วนน้อยในรัฐสภามีอำนาจขอให้มีการลง
ประชามติได้แต่เฉพาะกรณีที่เกี่ยวกับร่างกฎหมายที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาเท่านั้น กล่าวคือ
ในกรณีที่ร่างกฎหมายได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว (Folketing) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามสามารถขอให้มีการนำร่างกฎหมายนั้นไปผ่านการลงประชามติได้โดยจะ
ต้องขอภายใน 3 วันนับแต่วันที่ร่างกฎหมายนั้นได้รับความเห็นชอบจากสภา และในกรณีที่มีการ
ขอให้นำร่างกฎหมายไปผ่านการลงประชามตินี้ เสียงข้างมากในรัฐสภา (ซึ่งให้ความเห็นชอบแก่
ร่างกฎหมายนั้น) สามารถขอถอนร่างกฎหมายนั้นได้ ภายใน 5 วันนับแต่วันที่ร่างกฎหมายนั้น
ได้รับความเห็นชอบ เนื่องจากถ้าหากสุดท้ายประชาชนไม่ให้ความเห็นชอบด้วย ก็อาจต้องมีความ
รับผิดชอบทางการเมืองตามมา อย่างไรก็ตาม ถ้าหากไม่มีการถอนร่างกฎหมายนั้น ถ้าหากผล
การลงประชามติปรากฏว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ไม่ให้ความเห็นชอบ
ร่างกฎหมายนั้นต้องตกไป 32
นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญประเทศเดนมาร์กยังกำหนดให้กฎหมายบางประเภท เสียงข้างน้อย
ในรัฐสภาจะขอให้มีการนำไปลงประชามติไม่ได้ ได้แก่ ร่างกฎหมายเกี่ยวกับการเงิน (งบประมาณ
หนี้รัฐบาล หรือภาษี ฯลฯ) ร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการเวนคืน ร่างกฎหมายที่ต้องออกเพื่อดำเนิน
การให้เป็นไปตามสนธิสัญญาที่ลงนามไว้ เป็นต้น เนื่องจาก ร่างกฎหมายเหล่านี้จะต้องคำนึงถึง
33
ประโยชน์สาธารณะเป็นใหญ่ ถ้าหากปล่อยให้มีการลงประชามติ เช่น ความจำเป็นต้องขึ้นภาษี
ก็คงยากที่จะได้รับความเห็นชอบจากประชาชน
ส่วนรัฐธรรมนูญประเทศอัลเบเนียกำหนดกติกาไว้กว้างกว่ารัฐธรรมนูญประเทศเดนมาร์ก
โดยกำหนดให้สมาชิกรัฐสภาไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่สามารถขอให้
นำร่างกฎหมาย หรือประเด็นสำคัญบางประเด็นไปผ่านการลงประชามติได้ และมีข้อจำกัดว่า
32 รัฐูธรรมนูญประเทศเดนมาร์ก ค.ศ. 1953 มาตรา 42 (1),(3),(4),(5) การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2
33 รัฐธรรมนูญประเทศเดนมาร์ก ค.ศ. 1953 มาตรา 42 (2)