Page 261 - kpi17073
P. 261
260 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
นอกจากนี้ นักคิดในแนวทางนี้ยังเห็นว่า การให้ประชาชนออกเสียงลงประชามติ ซึ่งเป็นการ
ตัดสินใจโดยเสียงข้างมาก ก็ไม่ได้แสดงว่าจะได้รับผลลัพธ์ที่ดีต่อทุกฝ่ายเสมอไป และยังอาจทำให้
15
เกิด “เผด็จการโดยเสียงข้างมาก” อันจะนำไปสู่การลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ ทั้งนี้
การใช้เสียงข้างมากจนละเมิดสิทธิเสรีภาพเคยเกิดขึ้นจริง อย่างเช่น กรณีการแก้ไขเพิ่มเติม
16
รัฐธรรมนูญแห่งมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งประชาชนได้เข้าชื่อเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
เพื่อจำกัดสิทธิการสมรสของคู่รักร่วมเพศ และเมื่อผ่านการลงประชามติแล้ว ปรากฏว่าประชาชน
เสียงข้างมากให้ความเห็นชอบด้วย ทำให้กลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
ดังกล่าว โดยเฉพาะคนรักร่วมเพศยื่นเรื่องต่อศาลมลรัฐแคลิฟอร์เนีย และคดีดังกล่าวได้ขึ้นถึง
ศาลชั้นต้นสหรัฐ และศาลได้พิพากษาว่าสิทธิพื้นฐาน (Fundamental Right) ไม่อาจนำมาเป็น
18
17
ประเด็นในการลงประชามติได้ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน และศาลสูงแห่งสหรัฐไม่รับฎีกา
19
คำร้องฎีกาจึงตกไป ผลจึงเป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
นั้นตกไป
อย่างไรก็ตาม แนวความคิดดังกล่าวนี้ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก เพราะเปรียบเสมือน
การให้อำนาจแก่ผู้แทนที่ได้รับเลือกมาค่อนข้างมาก และเมื่อกติกาในรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่มักจะ
กำหนดให้ระบบการตัดสินใจในรัฐสภาใช้เสียงข้างมาก ก็เท่ากับว่า พรรคการเมืองใดชนะการ
เลือกตั้งได้เสียงข้างมาก ก็จะมีอำนาจมาก และในทางปฏิบัตินั้น ผู้แทนอาจไม่มีอิสระเนื่องจาก
มีความเป็นพรรคการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้การตัดสินใจของผู้แทนในบางกรณีจะต้องคำนึงถึง
ผลประโยชน์ของพรรคที่ตนสังกัดอยู่ อีกทั้งไม่มีหลักประกันใดๆเลยที่จะรับรองว่าสิ่งที่ผู้แทน
ตัดสินใจนั้นจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวมอย่างแท้จริง นอกจากนี้ H.B. Mayo นักวิชาการ
ยังได้กล่าวอีกว่า ความหวาดกลัวต่อการเกิดเผด็จการเสียงข้างมากนั้น เกิดจากการมองว่า
ประชาธิปไตยมีเพียงหลักเสียงข้างมากแต่เพียงอย่างเดียว ทั้งที่ความจริงแล้ว หลักการประชาธิปไตย
ยังมีอย่างอื่นอีก เช่น การเคารพสิทธิของเสียงข้างน้อย (Majority’s Rule and Minority’s Right)
ซึ่งต้องเป็นกลไกที่สร้างความสมดุลกันและป้องกันการเกิดเผด็จการเสียงข้างมากได้ระดับหนึ่ง 20
ด้วยเหตุนี้ แนวความคิดดังกล่าวนี้จึงไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน หากแต่แนวความคิดที่ได้รับ
การยอมรับมากกว่าคือ แนวความคิดว่าผู้แทนของประชาชนจะต้องผูกพันกับเจตนารมณ์ของ
ประชาชน
15 เรื่องเดียวกัน หน้า 82-83
16 รัฐธรรมนูญแห่งมลรัฐแคลิฟอร์เนียกำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถเข้าชื่อเสนอแก้ไขเพิ่มเติม
รัฐธรรมนูญได้ (รัฐธรรมนูญแห่งมลรัฐแคลิฟอร์เนีย มาตรา 2 อนุมาตรา 8 (Article 2 Section 8)) และการแก้ไข
เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้นก็ต้องผ่านการลงประชามติ (รัฐธรรมนูญแห่งมลรัฐแคลิฟอร์เนีย มาตรา 18 อนุมาตรา 4
(Article 18 Section 4))
17 United States District Court for the Northern District of California. Perry V. Schwazeneger
(2010). Retrieved February 23,2013, from documents.nytimes.com.
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2 Febryary 23,2013, from cdn.ca9.uscourts.gov.
United States Court of Appeal for ninth circuit. Perry V. Schwazeneger (2010). Retrieved
18
19
Supreme Court of the United States. Hollingsworth V. Perry (2013). Retrieved September 11,
2013, from www.supremecourt.gov.
20
Geoffrey de Q Walker. (1987). Initiative and Referendum : The people’s Law. Sydney : The
Centre for independent studies, p. 83-84