Page 258 - kpi17073
P. 258

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   257


                              การลงประชามติ : เครื่องมือยุติความขัดแย้งในรัฐสภา





                      ความนำ : สภาพปัญหา




                            เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 สภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นสภาอันประกอบด้วยสมาชิกที่เป็น
                      ตัวแทนของประชาชน ได้ลงมติให้ความเห็นชอบแก่ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำ
                      ความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. ...            2

                      ซึ่งมีเนื้อหาเป็นการนิรโทษ-กรรมให้แก่ผู้ชุมนุม และรวมไปถึงแกนนำผู้ชุมนุม ผู้สั่งการ
                      ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2547-2556 อันรวมไปถึงข้อหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงของ

                      พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และข้อกล่าวหาฆ่าคนตายของนายอภิสิทธิ
                      เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณด้วย  การผ่านร่างพระราชบัญญัติ
                                                                                    3
                      นิรโทษกรรมฯดังกล่าวส่งผลให้แกนนำพรรคฝ่ายค้าน (พรรคประชาธิปัตย์) และประชาชนจำนวน

                      มากที่ไม่เห็นด้วยกับการผ่านร่างพระราชบัญญัตินั้น ร่วมกันชุมนุมหลายจุดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
                      ในเขตกรุงเทพมหานคร  การชุมนุมดังกล่าวได้ขยายตัวไปเรื่อยๆ แม้ว่าวุฒิสภาจะมีมติไม่ให้ความ
                                            4
                      เห็นชอบแก่ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมดังกล่าวแล้วก็ตาม

                            อย่างไรก็ตาม การชุมนุมประท้วงของประชาชนต่อการให้ความเห็นชอบแก่ร่างพระราชบัญญัติ

                      นิรโทษกรรมฯของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าว ได้สะท้อนให้เห็นถึงข้อจำกัดบางประการของ
                      ประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน กล่าวคือ “ผู้แทน” ของประชาชน ไม่ใช่ “ประชาชน” การตัดสินใจ
                      โดยใช้หลัก “เสียงข้างมาก” ของผู้ที่ได้ชื่อว่า “เป็นผู้แทน” ก็เป็นไปได้ว่าในบางกรณีการตัดสินใจนั้น

                      อาจไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของประชาชนก็ได้  และแม้บางกรณีผู้แทนเสียงส่วนน้อย (พรรค
                                                                  5
                      ฝ่ายค้าน) ซึ่งไม่เห็นด้วยกับผู้แทนเสียงส่วนใหญ่ จะมีความเห็นที่ตรงตามเจตนารมณ์ของ

                      ประชาชนก็ตาม แต่ผลก็ยังคงต้องเป็นไปตามมติของผู้แทนเสียงส่วนใหญ่อยู่นั่นเอง


                            นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
                      2550 แล้ว จะเห็นได้ว่า รัฐธรรมนูญดังกล่าวกำหนดให้ในกรณีที่พรรคฝ่ายค้านไม่เห็นชอบกับ
                      พรรคร่วมรัฐบาล (ซึ่งถือเสียงข้างมากในรัฐสภา) แล้ว สิ่งที่พรรคฝ่ายค้านสามารถทำได้ ได้แก่

                                  6
                      ตั้งกระทู้ถาม  ขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล โดยต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่า

                          2   โพสต์ทูเดย์. สภาฉลุย ผ่านนิรโทษสุดซอยวาระ สืบค้นเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2556. จาก
                      www.posttoday.com/การเมือง/256324/สภาฉลุย-ผ่านนิรโทษกรรมสุดซอยวาระ3.
                          3   Bangkok Post. Amnesty bill revision slammed. Retrieved October 25, 2013, from
                      www.bangkokpost.com/most-recent/375261/panel-passes-tweaked-amnesty-bill.
                          4   Time. Thailand’s amnesty bill unites political foes against government. Retrieved November 10,
                      2013, from www.world.time.com/2013/11/01/thailands-amnesty-bill-unites-political-foes-against-government.
                         5   ชมพูนุท ตั้งถาวร. (2556). กระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญและการควบคุมความชอบด้วย
                      รัฐธรรมนูญของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในต่างประเทศ. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. หน้า 319-320    การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2
                         6   รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 156
   253   254   255   256   257   258   259   260   261   262   263