Page 263 - kpi17073
P. 263
262 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
2. การกำหนดเรื่องการลงประชามติที่เคยปรากฏในรัฐธรรมนูญไทย
เมื่อพิจารณารัฐธรรมนูญของประเทศไทยทั้งหมดที่ผ่านมาพบว่าเคยมีการกำหนดเรื่องการ
ลงประชามติไว้อย่างเป็นรูปธรรมในรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น 5 ฉบับ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย พุทธศักราช 2492, 2511, 2517, 2540 และ 2550 โดยในที่นี้จะขอกล่าวถึงการกำหนดให้
มีการลงประชามติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492, 2540 และ 2550
เท่านั้น เนื่องจากรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับนี้ได้รับการยกร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ จึงมีบันทึก
การประชุมถึงที่มาและข้อโต้แย้งต่างๆ ของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนรัฐธรรมนูญอีก
2 ฉบับนั้น ไม่ได้ร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ จึงไม่อาจค้นหาข้อโต้แย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการร่าง
รัฐธรรมนูญได้
1 การล ประ า า รั รร น รา า า ักร พ ักรา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 กำหนดให้ประชาชนสามารถลง
ประชามติได้เฉพาะกรณีที่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ริเริ่ม
การให้มีการลงประชามติในกรณีที่ทรงเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมที่นำขึ้นทูลเกล้าฯ
มานั้นกระทบถึงประโยชน์ได้เสียสำคัญของประเทศหรือประชาชน และทรงพระราชดำริสมควรให้
ประชาชนวินิจฉัย 24 25
ทั้งนี้ ในชั้นยกร่างรัฐธรรมนูญ แต่เดิมมีการเสนอให้พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจ
ในการนำร่างกฎหมายที่ไม่ทรงเห็นชอบด้วยตามที่รัฐสภาเสนอไปให้ประชาชนตัดสินใจโดยการลง
ประชามติ โดยมีการให้เหตุผลว่าการเพิ่มพระราชอำนาจเช่นนี้ถือเป็นการถ่วงดุลอำนาจ และ
ป้องกันมิให้(เสียงส่วนใหญ่ของ)รัฐสภาถือโอกาสออกกฎหมายที่อาจกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของ
ประชาชน หรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศ อีกทั้ง เมื่อถือว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของ
ปวงชนชาวไทยแล้ว มติของมหาชนย่อมเป็นสิ่งสำคัญ การคืนอำนาจให้ประชาชนตัดสินใจจึงเป็น
สิ่งที่เหมาะสม
26
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายที่โต้แย้งการให้พระราชอำนาจดังกล่าวก็มองว่า การเพิ่มพระราชอำนาจนี้
จะเป็นการดึงสถาบันพระมหากษัตริย์มายุ่งกับการเมืองมากจนเกินไปอันอาจส่งผลให้เกิดความไม่
ไว้วางใจกันระหว่างรัฐสภาและพระมหากษัตริย์ได้ จนกระทั่งในการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ครั้งที่ 37 ที่ประชุมจึงมีมติให้พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจให้ประชาชนลงประชามติได้เฉพาะ
เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเนื่องจากรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่กำหนดกติกาและโครงสร้าง
ของการปกครองที่สำคัญ จึงควรให้ประชาชนมีโอกาสได้ตัดสินใจในกรณีที่ทรงเห็นว่าการแก้ไข
เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของสภาอาจนำไปสู่การลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ 27
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2 26 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 และ 2517 ก็บัญญัติเรื่องกติกาการลงประชามติไว้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 มาตรา 174 วรรคแรก
24
25
เช่นเดียวกันนี้
นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2538). ระบบการออกเสียงแสดงประชามติ. กรุงเทพมหานคร : เคล็ดไทย.
หน้า 35-42
เรื่องเดียวกัน
27