Page 265 - kpi17073
P. 265

264     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 แต่ต่างกันในบางประเด็น กล่าวคือ
                  รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 กำหนดให้การออกเสียงประชามติสามารถกระทำได้โดยองค์กรที่ริเริ่ม

                  คือฝ่ายบริหาร (นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และอาจปรึกษาประธาน
                  สภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา) ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่ากิจการในเรื่องหนึ่งๆ อาจ
                  กระทบต่อประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติ หรือประชาชนส่วนข้อจำกัดในการลงประชามตินั้น

                  กำหนดไว้ในลักษณะเดียวกับรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 กำหนด
                  สิ่งที่แตกต่างออกไปคือ การจัดให้มีการลงประชามติดังกล่าว จะเป็นการกำหนดให้เป็นการลง

                  ประชามติเพื่อหาข้อยุติ นั่นคือ ให้การลงประชามติมีผลผูกพัน หรือจะเป็นการจัดให้มีการออกเสียง
                  เพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี ก็ได้  30


                       อย่างไรก็ตาม การกำหนดให้ฝ่ายบริหารเป็นองค์กรเดียวที่มีอำนาจริเริ่มการลงประชามติ
                  ก็ถูกตั้งข้อสังเกตว่า ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาซึ่งกำหนดให้ฝ่าย

                  นิติบัญญัติเป็นผู้เลือกฝ่ายบริหาร นั่นหมายความว่า ฝ่ายบริหารต้องมีเสียงข้างมากในสภาผู้แทน
                  ราษฎรอยู่แล้ว ดังนั้น ถ้าหากการดำเนินการใดของฝ่ายบริหารที่ตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่าง
                  มากและมีแนวโน้มสูงว่าประชาชนจะไม่เห็นด้วย ฝ่ายบริหารก็อาจเลือกที่จะนำประเด็นดังกล่าว

                  เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรซึ่งตนถือเสียงข้างมากอยู่ มากกว่าที่จะนำไปให้ประชาชน
                          31
                  ตัดสินใจ  ซึ่งก็อาจได้ผลลัพธ์เป็นสิ่งที่ไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของประชาชนอยู่นั่นเอง


                  3. การลงประชามติที่ริเริ่มโดยเสียงข้างน้อยในรัฐสภา

                  ในต่างประเทศ



                       จากการศึกษากรณีศึกษาต่างประเทศ พบว่า ประเทศที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้เสียงส่วนน้อย
                  ในรัฐสภาสามารถขอให้มีการนำประเด็นใดประเด็นหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่เกี่ยวกับ
                  กฎหมายไปขอประชามตินั้น จะกำหนดข้อจำกัดไว้เพื่อเป็นการสร้างสมดุลระหว่างการป้องกัน

                  ไม่ให้เสียงข้างมากในสภาออกกฎหมายตามอำเภอใจ กับการป้องกันไม่ให้เสียงข้างน้อยในสภาใช้
                  มาตรการนี้จนทำให้การออกกฎหมายบางเรื่อง หรือการบริหารราชการแผ่นดินต้องล่าช้าเกิน

                  สมควร ทั้งนี้ ประเทศที่มีการกำหนดกติกาดังกล่าว ได้แก่ ประเทศเดนมาร์ก ประเทศอัลเบเนีย
                  ประเทศฮอนดูรัส ประเทศมอนเตรเนโกร ประเทศลักเซมเบิร์ก ซึ่งเป็นประเทศที่มีรูปแบบรัฐสภา
                  เป็นแบบสภาเดี่ยว ประเทศออสเตรีย ประเทศฝรั่งเศส ประเทศสเปน ประเทศอิตาลี ซึ่งเป็น

                  ประเทศที่มีรูปแบบรัฐสภาเป็นแบบสภาคู่ การกล่าวถึงกรณีศึกษาต่างประเทศต่อไปนี้ จะแบ่งกลุ่ม
                  ประเทศโดยใช้รูปแบบรัฐสภาเป็นเกณฑ์ เนื่องจากรูปแบบรัฐสภาจะมีผลต่อการกำหนดข้อจำกัด

                  ของการลงประชามติในกรณีดังกล่าว ดังนี้


        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2        30   รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 165



                        Thosaphon Chieocharnpraphan and Thipsarin Phaktanakul. Empowering Direct Democracy through
                     31
                  a Referendum to Counter-Balance the Majority in the House of Representatives of Thailand. Retrieved
                  September 1, 2014, from http://www.thaiworld.org/enn/thailand_monitor/answera.php?question_id=1332.
   260   261   262   263   264   265   266   267   268   269   270