Page 262 - kpi17073
P. 262

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   261


                            แนวความคิดที่สอง เชื่อว่า ผู้แทนของประชาชนย่อมต้องผูกพันกับเจตนารมณ์ของ
                      ประชาชนที่เลือกผู้แทนมา แนวทางดังกล่าวนี้จึงสนับสนุนให้คืนอำนาจการตัดสินใจให้ประชาชน

                      โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เป็นประเด็นปัญหา ทั้งนี้ ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อแนวความคิดดังกล่าว
                      คือ ทฤษฎีสัญญาประชาคม (Social Contract)ของรุสโซ (Jean Jacque Rousseau (1712-
                      1778)) โดยความคิดของรุสโซก็ได้รับอิทธิพลจากการมองรูปแบบการปกครองในประเทศ

                      สวิสเซอร์แลนด์ที่มีการตั้งสภาให้ประชาชนประชุมร่วมกันเพื่อหาข้อยุติในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
                      ซึ่งรูปแบบการปกครองที่มีลักษณะใกล้เคียงกับประชาธิปไตยทางตรงในประเทศสวิสเซอร์แลนด์นี้

                      มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 แล้ว 21

                            ทฤษฎีสัญญาประชาคมของรุสโซแสดงให้เห็นว่า “เจตนารมณ์ร่วมกันของปวงชน” (la volonté

                      générale หรือ General will) เป็นรัฏฐาธิปัตย์ และปฏิเสธการโอนเจตนารมณ์ร่วมกันของ
                                                                                                    22
                      ปวงชนนี้ไปให้แก่ผู้แทน และเห็นว่าผู้แทนเป็นเพียง “กรรมการ” ที่ประชาชนตั้งขึ้น  เท่ากับว่า
                      ผู้แทนในสายตาของรุสโซจะต้องผูกพันอยู่กับการดำเนินการที่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ
                      ปวงชน


                            ดังนั้น ผู้แทนประชาชนย่อมผูกพันกับประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย และเป็น
                      ผู้เลือกตนมา การตัดสินใจของผู้แทนประชาชนจึงต้องคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนเป็น

                      สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่เป็นปัญหาที่ผู้แทนประชาชนต่างไม่เห็นพ้องต้องกัน ก็ควร
                                                                                                              23
                      นำประเด็นดังกล่าวกลับไปถามความเห็นของประชาชน หรือคืนอำนาจให้ประชาชนตัดสินใจ
                      แนวความคิดดังกล่าวนี้ได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีสัญญาประชาคมของรุสโซ ซึ่งถือว่าเจตนารมณ์

                      ของปวงชนเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ดังนั้น ประชาชนจึงไม่ควรมีส่วนร่วม
                      เฉพาะแต่เพียงการเลือกผู้แทน หากแต่ควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ไปตลอด

                      กระบวนการด้วย

                            อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแนวความคิดดังกล่าวนี้จะสนับสนุนให้มีการทำประชามติเพื่อเป็นการ

                      คืนอำนาจให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยตัดสิน แต่แนวความคิดและความเกรงกลัวว่า
                      จะเกิดเผด็จการเสียงข้างมากนั้น ก็ยังคงได้รับการกล่าวถึงอยู่


                            ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าในหลายประเทศจะกำหนดให้ตัวแทนเสียงส่วนน้อยในสภาที่ไม่เห็นด้วยกับ
                      เสียงส่วนใหญ่สามารถขอให้นำเอาประเด็นดังกล่าวไปขอให้มีการลงประชามติได้ แต่ก็จะมีการ

                      ออกแบบกติกาเพื่อกำหนดข้อจำกัดเพื่อสร้างสมดุลระหว่างการป้องกันเสียงส่วนน้อยในสภา
                      ไม่ให้ใช้การลงประชามติเป็นเครื่องมือจนทำให้การออกกฎหมายที่ต้องรีบด่วนหรือการบริหาร

                      ราชการแผ่นดินต้องล่าช้า กับการป้องกันไม่ให้เสียงข้างมากในสภามีมติตามอำเภอใจจนขัดต่อ
                      เจตนารมณ์ของประชาชน นั่นเอง

                         21   Alexander H. Trechsel and Hanspeter kriesi. (1996). Switzerland : the referendum and initiative
                      as a centerpiece of the political system. In The referendum experience in Europe. Great Britain :
                      Macmillian Press LTD. P. 185.
                         22   Geoffrey de Q Walker. (1987). Initiative and Referendum : The people’s Law. Sydney : The   การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2
                      Centre for independent studies, p.54

                         23   เรื่องเดียวกัน หน้า 30
   257   258   259   260   261   262   263   264   265   266   267