Page 259 - kpi17073
P. 259
258 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
7
หนึ่งในห้า (100 คน) เข้าชื่อกัน และในกรณีที่เกิดการไม่เห็นชอบด้วยกับร่างกฎหมายที่เสียง
ส่วนใหญ่ของรัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ก็สามารถร้องขอต่อประธานรัฐสภาให้ส่ง
ร่างกฎหมายดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้ โดยผู้ร้องขอจะต้อง
เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
8
ที่มีอยู่ของรัฐสภา (65 คน) เข้าชื่อกัน แต่การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก็จะมีข้อจำกัดอยู่
เพียงว่าร่างกฎหมายนั้นต้อง “ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ” ในทางเนื้อหา หรือกระบวนการ เท่านั้น
ถ้าหากร่างกฎหมายนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญทั้งเนื้อหาและกระบวนการ แต่ไม่ตรงตามเจตนารมณ์
ของประชาชน เช่นนี้ ศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่อาจวินิจฉัยให้ร่างกฎหมายนั้นตกไปได้
ยิ่งกว่านั้น รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวยังกำหนดให้ฝ่ายบริหารซึ่งมีที่มาจากเสียงข้างมาก
ในรัฐสภา (นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี) เท่านั้น เป็นองค์กรที่มีอำนาจ
9
ริเริ่มการจัดให้มีการลงประชามติได้ เท่ากับว่า ถ้าหากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสียงส่วนใหญ่
ผ่านร่างกฎหมายที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของประชาชนแล้ว ก็แทบไม่มีช่องทางใดตามรัฐธรรมนูญ
ฉบับดังกล่าวที่จะเปิดโอกาสให้เสียงส่วนน้อยในสภา หรือประชาชนได้แสดงออกเลย เว้นแต่
ประชาชนจะร่วมกันชุมนุมโดยอาจมีพรรคฝ่ายค้านเป็นแกนนำการชุมนุมอย่างที่ผ่านมา ปัญหา
สำคัญที่ต้องพิจารณาในกรณีนี้ ก็คือ ทำอย่างไร จึงจะสามารถขจัดความขัดแย้งดังกล่าวในรัฐสภา
และทำให้ประชาชนได้แสดงออกซึ่งเจตนารมณ์โดยไม่ต้องใช้ “การเมืองนอกรัฐสภา” ?
บทความนี้จึงมุ่งศึกษาเรื่องการลงประชามติซึ่งให้เสียงส่วนน้อยในสภาเป็นผู้ขอให้มีการ
ลงประชามติ เนื่องจากถ้าหากเสียงส่วนใหญ่ในสภาและเสียงส่วนน้อยในสภาเกิดความขัดแย้งกัน
แล้ว การคืนอำนาจให้ประชาชนตัดสินใจเพราะต่างฝ่ายต่างก็เป็นเพียง “ตัวแทน” ก็ดูจะเป็น
ทางออกที่น่าพิจารณาอีกทางหนึ่ง โดยบทความนี้จะเริ่มจากการกล่าวถึงแนวความคิดที่เกี่ยวข้อง
กับการคืนอำนาจตัดสินใจให้ประชาชนด้วยการลงประชามติ (1) จากนั้น จะขอกล่าวถึงการ
กำหนดเรื่องการลงประชามติที่เคยปรากฏในรัฐธรรมนูญไทย (2) โดยมุ่งเน้นที่รัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492, 2540 และ 2550 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยสภาร่าง
รัฐธรรมนูญ จึงมีการบันทึกการประชุมจัดเก็บไว้ และชี้ให้เห็นถึงการให้เสียงส่วนน้อยในรัฐสภา
ขอให้มีการลงประชามติในต่างประเทศ (3) เพื่อเป็นการชี้ให้เห็นรูปแบบและตัวอย่างในการ
กำหนดกติกาในกรณีดังกล่าวจนนำมาสู่บทสรุปและข้อเสนอในตอนท้าย
1. แนวความคิดที่เกี่ยวข้อง :
ประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน กับความเป็นผู้แทนของประชาชน
ปัจจุบัน การปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ปรากฏในประเทศต่างๆจะเป็นประชาธิปไตย
แบบมีตัวแทน เนื่องจากสภาพแวดล้อมในปัจจุบันที่ประชากรมีจำนวนมากขึ้น ทำให้การปกครอง
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2 7 8 9 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 158
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 154
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 165