Page 256 - kpi17073
P. 256
การลงประชามติ :
เครื่องมือยุติความขัดแย้งในรัฐสภา 1
ชมพูนุท ตั้งถาวร*
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการศึกษาเรื่องการให้เสียงส่วนน้อยในรัฐสภาสามารถ
ริเริ่มให้มีการลงประชามติได้ โดยศึกษากระบวนการลงประชามติที่กำหนดไว้ใน
รัฐธรรมนูญไทยที่ผ่านมา โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2540 และ 2550 กำหนดให้ฝ่ายบริหาร (ซึ่งถือเสียงส่วนใหญ่ในสภาผู้แทน
ราษฎร) เท่านั้นที่สามารถขอให้มีการลงประชามติได้ จนกระทั่งเมื่อสภา
ผู้แทนราษฎรเสียงข้างมากได้ผ่านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ ในเดือน
พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ซึ่งมีประชาชนจำนวนมากไม่เห็นด้วย สมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรเสียงข้างน้อยจึงกลายเป็นแกนนำการชุมนุมของประชาชนที่ไม่เห็น
ด้วย ซึ่งเป็นการต่อต้านร่างกฎหมายดังกล่าวโดยใช้ “การเมืองนอกรัฐสภา”
บทความนี้จึงมุ่งศึกษากระบวนการลงประชามติโดยให้สมาชิกรัฐสภาเสียงส่วน
น้อยเป็นผู้ริเริ่ม ซึ่งเท่ากับว่า ถ้าหากเป็นกรณีที่เป็นที่น่าสงสัยว่าการให้ความ
เห็นชอบแก่ร่างกฎหมายของเสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภาอาจไม่ตรงตามเจตนารมณ์
ของประชาชนแล้ว ก็จะมีช่องทางคืนอำนาจการตัดสินใจให้แก่ประชาชนได้
อย่างไรก็ตาม เมื่อศึกษาแล้วพบว่าส่วนใหญ่แล้ว ประเทศที่ใช้กลไกเหล่านี้จะเป็น
ประเทศที่ไม่มีสภาที่สองทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมาย ดังนั้น ถ้าหากจะมีการนำ
กลไกดังกล่าวมาใช้ในประเทศไทยจริง ก็อาจจะต้องสร้างข้อจำกัดที่มากยิ่งขึ้น
โดยคำนึงถึงกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลที่มีอยู่แล้วในรัฐธรรมนูญด้วย
* นักวิชาการขึ้นตรงต่อเลขาธิการ ปฏิบัติงานสำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า
1 บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความวิจัยเรื่อง “การลงประชามติ : เครื่องมือการยุติ
ความขัดแย้งในรัฐสภา” ภายใต้โครงการ “สู่ทศวรรษที่ 9 : ก้าวใหม่ของประชาธิปไตยไทย”
วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า และบางส่วนในบทความนี้กำลังจะตีพิมพ์
เป็นบทความเรื่อง “การลงประชามติที่ริเริ่มโดยประชาชน” ซึ่งกำลังจะตีพิมพ์ในวารสาร
นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ