Page 260 - kpi17073
P. 260
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 259
10
แบบประชาธิปไตยโดยตรงอย่างที่เคยปรากฏในสมัยกรีกนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้แล้ว ทั้งนี้
แนวความคิดของความเป็นตัวแทนประชาชนนั้นได้รับการตีความออกเป็นสองแนวความคิด
แนวความคิดแรก เชื่อว่าเมื่อประชาชนได้เลือกผู้แทนแล้ว ให้ถือว่าผู้แทนเป็นอิสระจาก
ประชาชนที่เลือกตนมา แนวความคิดนี้เคยปรากฏในงานเขียนของ Edmund Burke (1729-
1797) ซึ่งกล่าวว่า “เมื่อ [ชาวบริสทอล (Bristol)] เลือกผู้แทน ก็ไม่อาจถือได้ว่าผู้แทนนั้นเป็น
สมาชิกของบริสทอล หากแต่เป็นสมาชิกของรัฐสภา...และถ้าหากผู้แทนนั้นตัดสินตามความเห็น
ของประชาชนที่เลือกมา [แต่เพียงอย่างเดียว] นั่นถือว่าเป็นการทรยศมากกว่าการรับใช้ประชาชน
[ที่เลือกตนมา]” เช่นเดียวกับ เจมส์ เมดิสัน (James Madison (1751-1836)) ใน Federalist
11
paper ฉบับที่ 10 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้แทนประชาชนจะผูกพันอยู่เฉพาะประชาชนที่เลือกตนมา
ไม่ได้ แต่จะต้องชั่งน้ำหนักและคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศโดยรวมเป็นสำคัญ และผู้ที่
12
กล่าวถึงเรื่องนี้อย่างชัดเจนที่สุดคือ ซีเอเยส์ (Emmanuel Joseph Siéyès (1748-1836)) ซึ่งได้
กล่าวถึงแนวความคิดดังกล่าวในหนังสือเรื่อง “อะไรคือสภาสามัญชน ?” (Qu’est-ce que
le tiers état ?) ว่า เจตนารมณ์ของ “ชาติ” (ซึ่งก็คือ พลเมืองทุกคนรวมกัน) เป็นสิ่งสูงสุด
และเจตนารมณ์ของชาติ จะแสดงออกได้โดยผ่านผู้แทนของชาติซึ่งได้รับเลือกจากประชาชน และ
เมื่อได้รับเลือกแล้ว ผู้แทนเหล่านั้น ไม่ใช่ผู้แทนของราษฎร แต่เป็นผู้แทนของชาติอันมีอิสระ
ไม่ต้องผูกมัดอยู่กับประชาชนผู้เลือกตนมา ผู้แทนของชาติสามารถดำเนินการใดๆ ที่เห็นว่า
เป็นไปเพื่อประโยชน์ของชาติได้อย่างเต็มที่ 13 14
ทั้งนี้ แนวความคิดดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าเมื่อเลือกผู้แทนแล้ว ผู้แทนเป็นอิสระกระทำ
การใดๆ ได้ตามอำเภอใจ หากแต่ถือว่าผู้แทนมีหน้าที่ต้องทำเพื่อ “ประโยชน์ของประเทศชาติ”
ตามที่ผู้แทนเห็นว่าเหมาะสม ไม่ใช่ทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนเฉพาะกลุ่มที่เลือกตนมา
อาจกล่าวได้ว่า แนวความคิดนี้ไม่เห็นด้วยกับการให้ผู้แทนประชาชนกลับไปถามประชาชนว่า
ในประเด็นที่เป็นปัญหาอยู่นั้น ควรจะตัดสินไปในทางใด หากแต่เป็นเรื่องที่ผู้แทนประชาชนควรจะ
ต้องชั่งน้ำหนักตัดสินใจเอง แม้ว่าผู้แทนเสียงส่วนน้อยและเสียงส่วนใหญ่ในสภาจะไม่เห็นพ้อง
ต้องกันก็ตาม
10 วิษณุ เครืองาม. (2530). กฎหมายรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร : นิติบรรณาการ. หน้า 249
11 Geoffrey de Q Walker. (1987). Initiative and Referendum : The people’s Law. Sydney : The
Centre for independent studies, p. 31.
12 โปรดดู Hamilton, Madison and Jay. (2003). The Federalist with Letters of Brutus. United
Kingdom : Cambridge University Press, p. 40-46.
13 บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2552). กฎหมายมหาชนเล่ม 1 : วิวัฒนาการทางปรัชญา และลักษณะของกฎหมาย
มหาชนยุคต่างๆ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หน้า 58
14 อย่างไรก็ตาม ซีเอเยส์ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้แทนของชาติจะดำเนินการใดๆก็ได้ตามอำเภอใจ หากแต่การที่
พลเมืองทุกคนมารวมกันเป็นชาติ และมอบอำนาจให้แก่ผู้แทนของชาตินั้น ไม่ได้หมายความว่ามอบอำนาจทั้งหมดให้
ผู้แทน หากแต่เป็นเพียงอำนาจที่เป็นไปเพื่อให้เกิดการรักษาความสงบเรียบร้อยเท่านั้น และผู้แทนของชาติก็ไม่ การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2
สามารถเปลี่ยนแปลงกรอบการให้อำนาจนี้ได้ โปรดดู Emmanuel Joseph Siéyès. (2002). Qu’est-ce que le
tiers état?. Paris : Edition du Boucher,p. 51-52.