Page 264 - kpi17073
P. 264
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 263
นอกจากนี้ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญอีกหลายท่าน อย่างเช่น หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ก็ได้ทักท้วงในเรื่องการลงประชามติ โดยเทียบกับกรณีการลงประชามติในประเทศสวิสเซอร์แลนด์
โดยให้เหตุผลว่า ด้วยเทคโนโลยีของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ทำให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
ได้ดีกว่าประเทศไทย (ในขณะนั้น) ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารนี้ นับเป็นปัจจัยที่สำคัญมากกับ
การตัดสินใจของประชาชน 28
จากการพิจารณาประเด็นเรื่องการลงประชามติของสภาร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว มีข้อสังเกต
ที่สำคัญ สองประการ คือ ประการแรก การเล็งเห็นว่าเสียงข้างมากในรัฐสภาซึ่งเป็นผู้แทนของ
ประชาชนอาจออกกฎหมายที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของประชาชนอันอาจนำไปสู่การลิดรอนสิทธิ
เสรีภาพของประชาชนได้นั้น ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นในประเทศไทยในช่วงที่มีการผ่านร่างพระราชบัญญัติ
นิรโทษกรรมฯในช่วง พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมา หากแต่มีการตระหนักถึงตั้งแต่มีการร่างรัฐธรรมนูญฯ
ฉบับ พ.ศ. 2492 แล้ว และสภาร่างรัฐธรรมนูญก็เห็นว่า ถ้าหากเกิดกรณีดังกล่าว การคืนอำนาจ
ให้ประชาชนตัดสินใจก็น่าจะเป็นทางที่เหมาะสมที่สุด และประการที่สอง แนวความคิดในเรื่อง
การให้ประชาชนสามารถริเริ่มการลงประชามติได้เองนั้นก็ได้เกิดขึ้นแล้วในการประชุมของสภา
ร่างรัฐธรรมนูญนี้เช่นกัน หากแต่ด้วยข้อจำกัดของในช่วงเวลานั้น อันได้แก่ ความสามารถในการ
เข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชน แนวความคิดที่จะให้ประชาชนสามารถริเริ่มการลงประชามติ
ได้เองจึงยังไม่ปรากฏเป็นรูปธรรมในประเทศไทยในช่วงเวลาดังกล่าวนี้
การล ประ า า รั รร น รา า า ักร พ ักรา ละ
รั รร น รา า า ักร พ ักรา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย พุทธศักราช 2550 บัญญัติเรื่องการลงประชามติไว้ค่อนข้างใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ การกำหนด
เรื่องประชามติในรัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับไม่ใช่การกำหนดประชามติในเรื่องการนิติบัญญัติ
หากแต่เป็นประชามติที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของฝ่ายบริหาร โดยรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540
กำหนดให้องค์กรที่สามารถริเริ่มให้มีการลงประชามติได้คือฝ่ายบริหาร (นายกรัฐมนตรี
โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี) และจะต้องปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธาน
วุฒิสภา ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่ากิจการเรื่องใดเรื่องหนึ่งอาจกระทบต่อประโยชน์ได้เสีย
ของประเทศ หรือประชาชน โดยการลงประชามตินี้เป็นเพียงการ “ขอปรึกษาประชาชน” เท่านั้น
นั่นหมายความว่า ผลการลงประชามติไม่ได้ผูกพันการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญ
ฉบับดังกล่าวได้วางข้อจำกัดในการลงประชามติไว้สองประการ คือ หนึ่ง การลงประชามติจะต้อง
ไม่เป็นเรื่องที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ และสอง จะลงประชามติเกี่ยวกับตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
หรือคณะบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะไม่ได้ 29
ต่อมา เมื่อมีการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ก็ได้มีการ
กำหนดเรื่องการลงประชามติไว้เช่นกัน หากแต่กำหนดในลักษณะที่ใกล้เคียงกับการลงประชามติ
28 รายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่ 35 วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2491 การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2
29 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 214