Page 268 - kpi17073
P. 268
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 267
ธรรมนูญประเทศสโลวิเนีย ค.ศ. 1991 ก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยรัฐธรรมนูญเคยกำหนดให้
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม สามารถขอให้มีการลงประชามติในประเด็นใด
39
ก็ได้ที่เกี่ยวข้องกับบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โดยไม่มีข้อจำกัดเลยว่าเรื่องใดบ้างที่ห้ามนำไปลง
ประชามติ ปรากฏว่าการกำหนดกติกาดังกล่าวส่งผลให้กลไกนี้ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด กล่าวคือ
ส่วนใหญ่แล้ว พรรคฝ่ายค้านจะเป็นผู้ขอให้มีการลงประชามติในกฎหมายที่เป็นไปเพื่อระงับความ
ขัดแย้งระหว่างพรรคการเมืองในสภาด้วยกันเอง ไม่ใช่กฎหมายที่เกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะ
(Public Interest) อย่างแท้จริง เมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญใน ค.ศ. 2013 จึงยกเลิก
40
บทบัญญัติดังกล่าวไป และกำหนดให้ประชาชนไม่น้อยกว่า 40,000 คนเท่านั้น ที่สามารถเข้าชื่อ
กันขอให้มีการลงประชามติได้ และมีการกำหนดข้อห้ามไว้อย่างชัดเจน 41
นอกจากนี้ เมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของประเทศฝรั่งเศสใน ค.ศ. 2008 ก็ได้มี
การบัญญัติกลไกดังกล่าวขึ้น แต่เดิมนั้น รัฐธรรมนูญประเทศฝรั่งเศสกำหนดให้ประธานาธิบดีโดย
คำแนะนำของนายกรัฐมนตรีสามารถนำร่างกฎหมายต่อไปนี้ไปขอให้มีการลงประชามติได้ ได้แก่
ร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐ หรือร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการปฏิรูปการเมืองทาง
เศรษฐกิจ สังคม หรือสิ่งแวดล้อม หรือร่างกฎหมายที่จะมีผลเป็นการอนุมัติให้มีการให้สัตยาบัน
แก่สนธิสัญญา ซึ่งจะมีผลต่ออำนาจหน้าที่ของสถาบัน (ทางการเมือง) โดยไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
และเมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ก็กำหนดให้สมาชิกรัฐสภาไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้า สามารถ
ขอให้มีการลงประชามติเกี่ยวกับร่างกฎหมายดังกล่าวได้ แต่ต้องมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าหนึ่ง
ในสิบลงชื่อรับรอง และมีข้อจำกัดเพิ่มเติมว่าร่างกฎหมายในประเด็นดังกล่าวนั้น จะต้องไม่มีผล
เป็นการยกเลิกกฎหมายซึ่งบังคับใช้มายังไม่ถึง 1 ปี และถ้าหากประชาชนให้ความเห็นชอบแล้ว
ก็ต้องประกาศใช้กฎหมายนั้น 42
อย่างไรก็ตาม การกำหนดกติกาดังกล่าวไม่ได้เกิดจากความต้องการให้อำนาจแก่ผู้แทนเสียง
ส่วนน้อยในรัฐสภา หากแต่เกิดจากแนวความคิดที่ว่าต้องการให้ประชาชนสามารถเข้าชื่อขอให้มี
การลงประชามติได้โดยตรงในกรณีที่เกี่ยวข้องกับร่างกฎหมายดังกล่าว แต่เกรงว่าถ้าหากปล่อยให้
ประชาชนเข้าชื่อกันขอให้มีการลงประชามติโดยตรงแล้ว อาจเกิดการขอให้ลงประชามติที่มีผล
เป็นการจำกัดสิทธิของคนส่วนน้อยจนเกิดการพิพาทกัน และแม้จะสามารถสร้างกลไกให้องค์กร
ตุลาการสามารถวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประเด็นที่นำมาลงประชามติได้ก็ตาม แต่ก็
อาจสร้างบรรยากาศทางการเมืองที่ไม่ดีได้ จึงสร้างกลไกให้เสียงส่วนน้อยในสภาต้องร่วมริเริ่มกับ
ประชาชนที่เข้าชื่อด้วย เพื่อเป็นการกรองก่อนอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งการกำหนดกลไกให้ประชาชนร่วม
43
39 รัฐธรรมนูญประเทศสโลวิเนีย ค.ศ. 1991 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ค.ศ. 2006 มาตรา 90
40 Ciril Ribicic and Igor Kaucic. (2014). Constitutional Limits of Legislative Referendum : The case
of Slovenia. IX World Congress “Constitutional Challenges : Global and Local” : International
Association of Constitutional Law, p. 3
41 Official Gazette of the Republic of Slovenia No. 47/13 of 31 May 2013.
42 รัฐธรรมนูญประเทศฝรั่งเศส ค.ศ. 1958 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ค.ศ. 2008 มาตรา 11 การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2
43 Jean Pierre Camby, Patrick Fraisseix and Jean Gicquel. (2008). La révision de 2008, une nouvel
le constitution ? Paris : LGDJ, p.2009