Page 270 - kpi17073
P. 270

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   269


                            กรณีที่หนึ่ง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เนื่องจากรัฐธรรมนูญ
                      ของประเทศไทยที่ผ่านมาหลายๆ ฉบับจะกำหนดให้อำนาจการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นของ

                      รัฐสภา เนื่องจากเป็นตัวแทนของประชาชน และไม่มีการกำหนดบังคับให้ต้องนำร่างแก้ไขเพิ่มเติม
                      รัฐธรรมนูญนั้นไปผ่านการลงประชามติเพื่อให้มีผลบังคับใช้ ดังนั้น ถ้าหากรัฐธรรมนูญฉบับต่อไป
                      ยังคงกติกาเช่นนี้อยู่ ก็ควรเพิ่มข้อกำหนดให้สมาชิกรัฐสภาเสียงส่วนน้อยสามารถร้องให้มีการนำ

                      ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไปผ่านการลงประชามติได้ เนื่องจากร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
                      มีความสำคัญยิ่งกว่ากฎหมายธรรมดา และเป็นการกำหนดโครงสร้างทางการเมืองการปกครอง

                      ถ้าหากปล่อยให้อำนาจในการให้ความเห็นชอบแก่ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญผูกขาดกับเสียงข้าง
                      มากในรัฐสภาแต่เพียงอย่างเดียวเหมือนที่ผ่านมา ก็เท่ากับปล่อยให้เสียงข้างมากในสภาสามารถ
                      แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ตามใจชอบ อย่างไรก็ตาม ถ้าหากต่อมามีการกำหนดให้การแก้ไข

                      เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจำเป็นต้องผ่านการลงประชามติก่อนมีผลบังคับใช้ ผู้เขียนเห็นว่า
                      การกระบวนการดังกล่าวนี้ก็ไม่มีความจำเป็น


                            กรณีที่สอง ประเด็นอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหรือร่างกฎหมายธรรมดา เนื่องจาก
                      รัฐธรรมนูญของประเทศไทยที่ผ่านมา มักจะกำหนดให้ประเทศไทยใช้รูปแบบรัฐสภาเป็นแบบ

                      สภาคู่ คือ มีทั้งสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ถ้าหากรัฐธรรมนูญฉบับต่อๆ ไปจะยังคงรูปแบบ
                      ของรัฐสภาเป็นแบบสภาคู่อยู่ การให้สมาชิกรัฐสภาเสียงส่วนน้อยขอให้มีการลงประชามติได้ก็คง

                      ต้องสร้างข้อจำกัดทั้งในด้านกติกาการริเริ่มให้มีการลงประชามติ และประเด็นที่จะขอประชามติ
                      กล่าวคือ ในส่วนของการริเริ่มให้มีการลงประชามตินั้น เพื่อให้ประเด็นที่สมาชิกรัฐสภาเสียงส่วน
                      น้อยจะขอลงประชามติเป็นประเด็นที่มีความสำคัญต่อประชาชนอย่างแท้จริง ก็ควรกำหนดให้

                      ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องลงชื่อรับรองด้วยเพื่อป้องกันการนำกลไกดังกล่าวไปใช้เพื่อประโยชน์
                      ของพรรคแต่เพียงอย่างเดียว ส่วนด้านประเด็นการขอให้มีการลงประชามตินั้น ผู้เขียนเห็นว่า

                      การกำหนดให้ผู้แทนเสียงส่วนน้อยขอให้มีการลงประชามติควรจะเป็นกรณีที่มีการขอยกเลิก
                      กฎหมาย หรือการให้ความเห็นชอบแก่ร่างกฎหมายที่ได้รับความเห็นชอบจากเสียงข้างมากใน
                      รัฐสภาแล้ว แต่เป็นที่สงสัยว่าอาจขัดต่อเจตนารมณ์ของประชาชน โดยต้องสร้างข้อจำกัดที่ชัดเจน

                      เช่น กฎหมายหรือร่างกฎหมายใดที่ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะจริงๆ ก็อาจต้องกำหนด
                      ห้ามไม่ให้ขอให้มีการลงประชามติแบบมีผลผูกพัน เช่น กฎหมายที่เกี่ยวกับการเงิน กฎหมายเรื่อง

                      การเวนคืน (แต่อาจขอประชามติแบบไม่มีผลผูกพัน (ประชาพิจารณ์) ได้ หรืออาจใช้กลไกอื่นใน
                      การตรวจสอบแทน) เป็นต้น


                            ยิ่งกว่านั้น ในเมื่อที่ผ่านมารัฐธรรมนูญเคยกำหนดให้สมาชิกรัฐสภาเสียงส่วนน้อยสามารถ
                      ขอให้มีการนำร่างกฎหมายไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้แล้ว ถ้าหาก

                      รัฐธรรมนูญฉบับต่อไปยังกำหนดกลไกดังกล่าวไว้อีก ผู้เขียนเห็นว่า ควรจะกำหนดเป็นเงื่อนไข
                      เพิ่มเติมให้กลไกดังกล่าวนี้ต้องถูกบังคับใช้ก่อน กล่าวคือ กำหนดให้ต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ
                      วินิจฉัยก่อน จึงจะนำร่างกฎหมายนั้นไปขอประชามติได้ เนื่องจากถ้าหากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

                      แล้วว่าร่างกฎหมายนั้นมีเนื้อหาหรือกระบวนการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ร่างกฎหมายนั้นก็ต้อง
                      ตกไปอยู่แล้ว                                                                                       การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2
   265   266   267   268   269   270   271   272   273   274   275