Page 274 - kpi17073
P. 274
การสร้างดุลอำนาจภายในรัฐสภา
ศาสตราจารย์ ดร.สมบูรณ์ สุขสำราญ*
ในเรื่องของสองสภาคิดว่า แนวโน้มจะเป็นสองสภาอย่างแน่นอน คำถามที่
ทั้งสามท่านพยายามที่จะหาคำตอบให้เราก็คือว่า เมื่อมีสองสภาแล้ว ประการที่
หนึ่ง เราได้คนเข้าไปทำหน้าที่ที่ดี คือ ได้ ส.ส., ส.ว. ที่ดีได้อย่างไร ซึ่งทั้งสาม
ท่านก็พยายามชี้ทางว่า ถ้าจะให้ได้ ส.ส. ดี โครงสร้างของสภาจะต้องเป็น
ลักษณะนั้น ลักษณะนี้ ฟังก์ชัน (Function) ของสภาควรจะเป็นลักษณะเช่นนั้น
เช่นนี้ กระบวนการทางการเมือง คือ สถาบันทางการเมือง เช่น พรรคการเมือง
ควรมีลักษณะอย่างไร ประเด็นที่ ดร.ภูมิ, ดร.อรรถสิทธิ์ และ ดร.สติธร กล่าว
ก็จะอยู่ตรงนี้ ส่วน อ.ชมพูนุท ก็เสนอแนวคิดสำคัญ ที่เสนอเหมือนกันว่า
การเป็นตัวแทนของประชาชน คืออะไร คุณเป็นตัวแทนของประชาชนที่ได้รับ
มอบอำนาจอย่างสิทธิ์ขาดมาเลย หรือว่าคุณเป็นตัวแทนของประชาชนแบบ
ตัวแทนบริษัท หรือเอาทั้งสองอย่างมาบวกรวมกัน แต่ประเด็นหนึ่งที่ ดร.อรรถสิทธิ์
กล่าวชัด อยากจะเห็นว่า คนเป็นผู้แทนของประชาชนทำหน้าที่ด้วยจิตสำนึกของ
การเป็นผู้แทนราษฎร ไม่ว่าจะเป็น ส.ว. หรือ ส.ส. ทำหน้าที่ด้วยจิตสำนึก
เพราะฉะนั้น อ.ชมพูนุท ก็พยายามเสนอว่า ถ้าจะให้เขาทำด้วยจิตสำนึกจะต้องมี
กลไกที่ให้ความคุ้มครองเขา ซึ่งคิดว่า ประเด็นทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้
มีประโยชน์อย่างมาก
เมื่อกล่าวไปแล้ว จะกล่าวถึงในการกระบวนการเมืองไม่ว่าจะเป็นประเทศ
ไหน ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา อังกฤษ หรือในยุโรปที่เจริญแล้ว ความจริงของ
ชีวิตก็คือว่า การเมืองนั้นเป็นการเจรจา การต่อรอง ในระบบรัฐสภาของอังกฤษ
* ราชบัณฑิต สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง