Page 276 - kpi17073
P. 276

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   275


                      ถ้าหากทำให้ชัด ๆ เกียรติภูมิของ ส.ส. ก็จะกลับมาได้เยอะทีเดียวว่า เป็นพวกขี้เกียจหลังยาว
                      ไม่สนใจเอาแต่ไปดูงานต่างประเทศ ไม่คิดออกร่างกฎหมายอะไรต่าง ๆ เพราะฉะนั้น คิดว่า

                      อีกสิ่งหนึ่งที่เจ็บปวดในฐานะประชาชนก็คือว่า คุณได้รัฐบาลอย่างไร คุณได้ ส.ส. อย่างไร คุณก็
                      ต้องดูตัวคุณเอง เพราะคุณเป็นคนเลือกเขาเข้าไปเป็น ส.ส.  แล้วพวกเขาก็ไปเลือกรัฐบาลให้คุณ


                            อีกประเด็นหนึ่ง ที่ ดร.ภูมิ กล่าวถึงว่า สภาสูง ควรจะมีบทบาทในการสร้างดุลแห่งอำนาจ
                      ในสภาหรือไม่ ในระบบรัฐสภาที่ไม่ได้เป็นระบบกินรวบอย่างที่กล่าวมาแล้ว คือ ถ้าเป็นพรรค

                      ขนาดกลางก็คอยจ้องผสมพันธุ์  ขนาดเล็กก็คอยจ้องต่อรองเอาตำแหน่งรัฐมนตรี หรือหยาบที่สุด
                      ก็คือ เอาเงินฟาดหัวมึงเข้ามาอยู่พรรคกู แล้วกลายเป็นพรรคใหญ่ก็ขึ้นสิ่งที่เรียกว่า เผด็จการทาง
                      รัฐสภาขึ้น สิ่งเหล่านี้ คิดว่า ของเราไม่ใช่ภาวะระบบรัฐสภาที่ปกติ ระบบปกตินั้น การถ่วงดุล

                      อำนาจมันเกิดขึ้นอยู่ภายใน พรรคฝ่ายค้านก็จะค้านเพื่อประโยชน์ของประชาชน การที่จะให้มีสอง
                      พรรคเด็ดขาดมันเป็นไปไม่ได้ในระบบวัฒนธรรมแบบคนไทย เป็นไปไม่ได้อย่างเด็ดขาด เพราะ

                      ฉะนั้นต้องมีมากกว่าสามสี่พรรคแน่นอน การถ่วงดุลระหว่างพรรคเองนี้ก็มีอยู่ในระดับหนึ่ง ถ้าจะ
                      ให้ถ่วงดุลกันได้มาก สิ่งแรกจะต้องถ่วงดุลกันในสภาเสียก่อน ไม่ใช่ว่าเขาถูกใจท่าน ท่านถูกใจเขา
                      ไม่ได้คำนึงพรรคไหนจะเป็นอย่างไร ผมจะเป็นอย่างไร ไม่คำนึงถึงเลย ท่านหยวนไปหมดเลย

                      ประชาชนก็แย่ ผมคิดว่า ประเทศในระบบรัฐสภาลงรากปักลึกอย่างบ้านเราไม่มี มีน้อย ถ้ามีก็มี
                      ชัดเจนไปเลย ถ้าระบบแบ่งแยกอำนาจ ระบบของอเมริกาก็รู้ว่าถ้ารัฐบาลนี้ขึ้นมา กลุ่มทุนกลุ่มไหน

                      คือ ผู้บงการ ถ้าเป็นเดโมแครต กลุ่มวอลล์สตรีท ถ้าเป็นริพับลิกัน กลุ่มวอลล์สตรีทพวกไหน
                      นั่นคือความเป็นจริงซึ่งถ้าจะให้รัฐธรรมนูญครอบคลุมไปถึง ก็ยังสงสัยว่า จะครอบคลุมไปถึงได้
                      มากน้อยเพียงใด คนที่จะบอกได้ดีที่สุดว่า หน้าตาควรจะเป็นอย่างไร ดร.ดิเรก จะไปร่าง แล้วท่าน

                      ก็มีอยู่ในใจ ผมว่า ฟังท่านดีกว่า แล้วเรามาเสริมว่า ท่านเข้าไปแล้ว ขอให้เป็นอย่างไรบ้าง ผมก็
                      สะท้อนความคิดเห็นของนักวิชาการน้องๆ และก็ฝากความหวังท่านไป และมีข้อคิดว่า โลกของ

                      ความเป็นจริงเป็นเช่นไร                                                                             การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2
   271   272   273   274   275   276   277   278   279   280   281