Page 280 - kpi17073
P. 280

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   279


                      หลักการสร้างรัฐธรรมนูญ



                            เนื่องจากรัฐธรรมนูญเป็น “สัญญาประชาคม” ดังนั้นที่มาของรัฐธรรมนูญคือมาจาก
                      ประชาชนโดยผู้แทนของประชาชนเหล่านั้นต่างก็มาให้สัญญาตกลงร่วมกันว่าเราจะใช้กติกาเหล่านี้

                      เป็นแม่บทในการปกครองประเทศ จึงเป็นที่มาของการมีรัฐธรรมนูญที่ใช้เป็นกฎหมายสูงสุดในการ
                      ปกครองประเทศทุกประเทศในโลกนี้ จึงสรุปโดยย่อได้ว่ารัฐธรรมนูญต้องมาจากประชาชนโดยตรง
                      มิใช่มาจากผู้มีอำนาจเหนือรัฏฐาธิปัตย์จัดทำให้


                      1    กั   นา      ้ปก ร   ละ  ้  ร  ส    เสร  าพ   ประ า น

                            เนื้อหาของรัฐธรรมนูญนั้นจะต้องกำหนดบทบาทแลอำนาจของผู้ปกครองหรือรัฐบาลไว้อย่าง

                      ชัดเจนไม่ให้ใช้อำนาจเกินขอบเขตหรืออำนาจเบ็ดเสร็จ แบบเผด็จการในการบริหารประเทศ
                      ในขณะเดียวกันจะต้องคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนด้วย เพราะมนุษย์ทุกคนที่เกิดมา

                      ย่อมมีสิทธิเสรีภาพทางสังคมและทางกฎหมายเท่าเทียมกัน

                         สร้า   า เป น รร   ้เก     น นสั


                            ในสังคมมนุษย์นั้นแม้ว่าคนจะมีฐานะและสิทธิทางสังคมเท่าเทียมกันก็ตาม แต่ในความเป็น
                      จริงของโลกมนุษย์นั้นไม่ใช่คนจนกับคนรวย คนมีอำนาจกับคนไม่มีอำนาจ จะมีฐานะทางสังคม
                      ต่างกันจนมีคำพูดที่พูดตกทอดกันมาว่า “คนจนทำความผิดต้องติดคุก” “แต่คนรวยทำความผิด

                      ไม่ติดคุก”


                            ดังนั้น รัฐธรรมนูญจึงจำเป็นต้องเป็นตัวกำหนดบทบาทเพื่อสร้างความเป็นธรรมของคน
                      ในสังคมให้เท่าเทียมกัน


                         สร้า เสถ  ร าพ า การเ      ้กับ  ้ปก ร

                            ผู้ปกครองหรือรัฐบาลที่ผ่านการเลือกตั้งมาจากประชาชนนั้น จำเป็นต้องมีเสถียรภาพ
                      ทางการเมืองอย่างมั่นคงและมีอำนาจตามกฎหมายที่จะบริหารประเทศได้ ดังนั้น กฎหมายต่างๆ

                      ที่ออกมาไม่ควรที่จะไปลิดรอนอำนาจบางอย่างของรัฐบาลในการที่จะบริหารประเทศ ยกตัวอย่าง
                      ง่ายๆ เช่น การโยกย้ายข้าราชการ ข้าราชการคือมือไม้ที่สำคัญของรัฐบาลในการนำนโยบายของ

                      รัฐบาลไปบริการประชาชน รัฐบาลจำเป็นต้องวางตัววางกำลังให้เหมาะสมเพื่อให้งานบรรลุ
                      วัตถุประสงค์ รัฐบาลต้องมีอำนาจในการให้คุณให้โทษแก่ข้าราชการ ส่วนการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือ
                      ระบบคุณธรรมนั้นเป็นเรื่องของคนปฏิบัติที่ต้องแก้ไขปรับปรุงกัน ซึ่งต้องไปกำหนดไว้ในกฎหมาย

                      อื่นเป็นแนวทางให้ข้าราชการและรัฐบาลปฏิบัติร่วมกัน แต่สรุปว่ารัฐบาลต้องมีอำนาจในการ
                      โยกย้ายข้าราชการบ้านเมืองจึงจะเดินไปได้ไม่สะดุดหยุดชะงัก ยกตัวอย่างการรัฐประหารปี

                      พ.ศ.2557 หลังการรัฐประหารไม่นานหัวหน้าคณะรัฐประหารได้โยกย้ายข้าราชการจำนวนมาก
                      เพื่อจัดระเบียบและวางรูปแบบการบริหารประเทศใหม่ เหมือนกับรัฐบาลทุกรัฐบาลที่เคยปฏิบัติมา
                      ก็ไม่เห็นข้าราชการคนไหนมีปากเสียง                                                                  การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2
   275   276   277   278   279   280   281   282   283   284   285