Page 282 - kpi17073
P. 282

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   281


                            การประชุมรัฐสภา ในองค์กรของรัฐสภานั้นมีสมาชิกอยู่สองประเภท คือ สมาชิกสภา
                      ผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา การประชุมรัฐสภาหมายถึงการประชุมร่วมกันของทั้งสองสภา

                      ส่วนการประชุมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือการประชุมของสมาชิกวุฒิสภา ไม่เรียกว่า
                      ประชุมรัฐสภา แต่เรียกว่าประชุมสภาผู้แทนราษฎรหรือประชุมวุฒิสภา


                            อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา รัฐสภามีหน้าที่หลักตามรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2550 และ
                      รัฐธรรมนูญอื่นๆ ที่ผ่านมาอยู่ 4 ประการ คือ


                             1.  การตามกฎหมาย เรื่องของการออกกฎหมายและการแก้ไขกฎหมายนั้น และเป็นหน้าที่
                                หลักของฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา


                             2.  การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน เป็นการสอดส่องดูแลการปฏิบัติงานของ

                                คณะรัฐมนตรีหรือฝ่ายบริหารด้วยวิธีการที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เช่น การตั้งกระทู้ถาม
                                การเสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ ญัตติตั้งกรรมาธิการตรวจสอบ


                             3.  อำนาจหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญ เช่น
                                  -  การให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

                                  -  การรับทราบหรือให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติ
                                  -  การให้ความเห็นชอบในการปิดสมัยประชุม สมัยสามัญของรัฐสภา

                                  -  ให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม
                                  -  การให้ความเห็นชอบในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญา
                                    อื่นๆ กับนานาประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศ


                             4.  อำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้ง ถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง ตามที่รัฐธรรมนูญ
                                กำหนดการแต่งตั้งหรือให้ความเห็นชอบ การพิจารณาเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ

                                ตามรัฐธรรมนูญ โดยวุฒิสภาเป็นผู้ดำเนินการ เช่น
                                  -  ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

                                  -  กรรมการ ป.ป.ช.
                                  -  กรรมการเลือกตั้ง
                                  -  กรรมการตรวจเงินแผนดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผนดิน

                                  -  ผู้ตรวจการแผ่นดิน
                                  -  กรรมการสิทธิมนุษยแห่งชาติ

                                  -  เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
                                  -  อัยการสูงสุด
                                  -  กรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 คน

                                  -  กรรมการตุลาการศาลปกครองผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 คน
                                                                                                                         การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2
   277   278   279   280   281   282   283   284   285   286   287