Page 279 - kpi17073
P. 279
278 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
1 า ั ้ ละ นา กันระ า นักการเ ้ กัน
ในกระบวนการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามหลักสากลของโลกนั้น การได้อำนาจของ
ผู้ปกครองจะต้องได้รับฉันทานุมัติจากประชาชนนั้น หมายถึงว่าต้องผ่านกระบวนการเลือกตั้ง
โดยจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปทั้งประเทศ และเมื่อพรรคการเมืองใดได้รับชัยชนะมีเสียงข้างมาก
ก็จะได้จัดตั้งรัฐบาลเข้าบริหารประเทศหรือปกครองประเทศ โดยปฏิบัติตามนโยบายต่างๆ ที่
ประกาศไว้ใน “รัฐสภา” และใช้เวทีของรัฐสภาเป็นเวทีตรวจสอบ ทักท้วง ติติง แก้ไข การทำงาน
ของรัฐบาลอย่างมีหลักการและเหตุผล ประชาชนก็จะรับรู้ความเคลื่อนไหวโดยผ่านสื่อต่างๆ
การถกเถียงกันในรัฐสภานั้น ถือเป็นเรื่องปรกติเพราะรัฐสภาเป็นเวทีสำหรับพูดคุย
ตรวจสอบเพื่อถ่วงดุลยอำนาจกันในการบริหารประเทศ จึงต้องถกเถียงเป็นธรรมดา
ตามหลักการสากลของกระบวนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น เมื่อพรรคการเมือง
ใดได้เป็นรัฐบาลแล้ว เขาจะปล่อยให้บริหารประเทศไปจนครบวาระ โดยผ่านการตรวจสอบจาก
ระบบรัฐสภา และเมื่อครบวาระแล้ว ถ้าทำดี ประชาชนพอใจก็จะได้รับการเลือกต่อ ถ้าทำไม่ดี
ก็จะไม่ได้รับการเลือกตั้งอีก รัฐสภาจึงเป็นองค์กรสำคัญที่เป็นศูนย์กลางในการบริหารประเทศ
สำหรับประเทศไทยนั้น นักการเมืองไม่เข้าใจกติกาสากลอย่างนี้ ไม่มีน้ำใจนักกีฬาพอ
มุ่งแต่ประหัตประหารเพื่อล้มอำนาจกันด้วยวาทะกรรมต่างๆ และแย่งอำนาจกันตลอดเวลา ปัญหา
ที่ตามมาคือทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย เกิดความแตกแยกและนำไปสู่การรัฐประหารในที่สุด
ป า าก ั รั รร น เ
ประเทศไทยนับเป็นประเทศหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญมากที่สุด มีรัฐธรรมนูญ
มาแล้ว 19 ฉบับ (รวมรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2557 ด้วย) การเปลี่ยนแปลงของรัฐธรรมนูญ
เกือบทั้งหมดเกิดขึ้นจากการปฏิวัติรัฐประหารทั้งสิ้น กล่าวคือ เมื่อมีการรัฐประหารผู้ถืออำนาจรัฐ
หรือผู้มีอำนาจเหนือรัฏฐาธิปัตย์ก็จะตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่ใช่
รัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชนอย่างแท้จริง จึงไม่เป็นที่ยอมรับเท่าที่ควร
รัฐธรรมนูญบางฉบับยกร่างโดยมีอคติ ดังนั้นเนื้อหาของรัฐธรรมนูญจึงไม่เป็นไปตามหลัก
สากลของการร่างรับธรรมนูญ เมื่อนักการเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยเข้ามาบริหารประเทศ
จึงต้องมีการแก้ไข และการแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้เอง เป็นที่มาของความแตกแยกของคนไทย จนต้อง
เกิดการรัฐประหารขึ้นมาอีก เช่น รัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2550 สร้างความยุ่งยากเกิดความแตกแยก
กันในประเทศมากที่สุด จนนำมาสู่การรัฐประหารในปี พ.ศ.2557 อีกครั้งหนึ่ง
ป า า ั ้ กันระ า า รา การกับ า การเ
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2 อำมาตย์เป็นแกนนำในการปกครอง ปัจจุบันระบบอำมาตย์ถูกพัฒนามาจนกลายเป็นระบบราชการ
เนื่องจากประเทศไทยปกครองโดยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาแต่อดีต โดยใช้ระบบ
ดังนั้น อำนาจของข้าราชการจึงมีมากมายมีอาวุธยุทโธปกรณ์ พร้อมที่จำทำรัฐประหารแย่งชิง
อำนาจ เมื่อใดที่การเมืองอ่อนแอก็จะเกิดการปฏิวัติรัฐประหารขึ้น ระบบราชการจึงกลายเป็น
ปัญหาอย่างหนึ่งของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ต้องแก้ไขและจัดระเบียบให้เหมาะสม