Page 275 - kpi17073
P. 275

274     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  มีคำพูดแปลว่า ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลได้เจรจาตกลงกันข้างหลังแล้ว เพราะฉะนั้น “just put
                  up the show” ในสภาว่า จะเอาอย่างโน้นอย่างนี้ ให้มีลักษณะของความเป็นผู้แทนของราษฎร

                  ก็เช่นเดียวกัน ทุกอย่างเป็นวิวัฒนาการเพียงแต่ว่า เราวิวัฒนาการช้ากว่าเขาไปอาจจะเกือบ 200 ปี
                  เป็นเรื่องของวิวัฒนาการ เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราพูดในเชิงวิชาการ เราอยากจะเห็นให้เป็นแบบ
                  วิชาการ แต่ความจริงของชีวิตมันโหดร้ายกว่านั้น เราเคยอยากมีพรรคการเมืองที่เข้มแข็ง ให้มีแค่

                  ระบบสองพรรค ให้มีพรรคที่เข้มแข็งจริงๆ สองพรรคเราก็ได้ แล้วในที่สุดเราไม่ได้เคารพในกติกากัน
                  พรรคที่จะคอยถ่วงดุลในรัฐสภาให้เกิดความสมดุลก็ถูกกว้านซื้อไปหมด เพราะฉะนั้นดุลในสภา

                  ระหว่างฝ่ายการเมืองด้วยกันก็พลิกเอียงไปข้างหนึ่งอย่างที่เราเห็นกัน ที่เราเคยอยากจะมีผู้แทน
                  ราษฎรที่ทำด้วยสำนึกที่เป็นตัวแทนของประชาชนก็ค่อยๆ เหือดหายไป จึงไปส่งผลกระทบต่อ
                  ระบบการเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นระบบการเลือกตั้ง คนที่เป็นพรรคการเมือง คนที่เป็นเจ้าของ

                  พรรคการเมืองไม่ได้แคร์ (ไม่สนใจ) ว่า จะได้คนดีหรือไม่ ถ้าได้อย่าง ดร.ดิเรก ไปไม่ต้องถึง
                  ครึ่งสภา สัก 20-30 เปอร์เซ็นต์ ผมขอแค่ 30 เปอร์เซ็นต์ สภาเราก็คงจะเหมือนสภาของ

                  ประเทศอื่นๆ ได้ในระดับสูง ประเด็นก็ขึ้นไปอยู่ที่ว่า แล้วพรรคการเมืองไม่ได้กลั่นกรองหรือ เขา
                  กลั่นกรองคนที่แน่ใจว่า เมื่อส่งสมัครรับเลือกตั้งแล้ว คุณได้รับเลือกตั้ง แล้วเมื่อคุณได้รับเลือกตั้ง
                  คุณเป็นขี้ข้าของพรรค เพราะฉะนั้นที่ อ.ชมพูนุท เสนอว่า ให้มีกลไกที่จะปกป้องเสียงข้างน้อย

                  มีประชามติโดยเสียงข้างน้อย เป็นข้อเสนอที่น่าสนใจมากๆ ซึ่งคิดว่า ระดับความเข้าใจของ
                  ประชาชนของเราในวันนี้สูงขึ้นเยอะแล้ว ถ้าหากว่า เราลงไปดูในพื้นที่ข้างล่าง ชุมชนในประเทศ

                  ไทยเรานี้ มีชุมชนที่เป็นประชาธิปไตยเยอะมากเหลือเกิน ประชาธิปไตยไม่ใช่ในรูปแบบที่เรา
                  นักวิชาการเข้าใจ แต่เป็นประชาธิปไตยในแบบวิถีชีวิตที่เขาอยู่รวมกัน เขาช่วยเหลือกัน ช่วยกันทำ
                  ช่วยกันใช้ ดูแลกันแบบนี้มีอยู่เยอะแล้ว เพราะฉะนั้น ถ้าเรามีความมั่นใจให้กับประชาชนของเราว่า

                  เสียงข้างน้อยจะได้รับความคุ้มครองผมคิดว่า รัฐธรรมนูญนี้จะดีมาก และไม่ได้ซับซ้อนจนเกินไป
                  อย่าไปตั้งข้อจำกัดให้มากจนเกินเหตุ เมื่อได้พูดถึงบอกว่า ในโลกของความจริงมันโหดร้าย

                  ดร.อรรถสิทธิ์ กล่าวว่า การเสนอร่าง พ.ร.บ. ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ มาจาก ครม. มาจากฝ่าย
                  บริหาร แล้วท่านก็บอกว่า จากฝ่ายบริหารก็คือมาจาก กระทรวง ทบวง กรม ก็กลายเป็นอมาตยา-
                  ธิปไตย ความเป็นจริงไม่ว่าประเทศใดร่างพระราชบัญญัติ อาจจะ 80 เปอร์เซ็นต์ไปจากฝ่าย

                  บริหาร ไปจาก ครม. ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น ก็เพราะว่า ในการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัตินั้น
                  ฝ่ายรัฐบาลจะต้องมีเครื่องมือ โดยเครื่องมือนั้นก็คือ กฎหมาย ระเบียบต่างๆ คนที่รู้ว่าจะต้องใช้

                  เครื่องมืออะไร ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด คือ ฝ่ายบริหาร ฉะนั้นทางฝ่ายนิติบัญญัติไม่อาจจะไป
                  ทราบได้ หน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติก็คือว่า ถ้าจะมีกฎหมายแบบนี้ กฎหมายนี้จะเกิดประโยชน์กับ
                  ประชาชนที่สุด ผมไม่แน่ใจว่า จะลงรายละเอียดทั้งหมดไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ได้มากน้อยแค่ไหน

                  แต่ในความเป็นจริงฝ่ายบริหารเป็นผู้รู้ว่า จะใช้กฎหมายอะไร ฝ่ายนิติบัญญัติจะเป็นผู้บอกว่า
                  กฎหมายอย่างนี้ละเมิดสิทธิของประชาชน หรือกฎหมายแบบนี้เป็นประโยชน์กับประชาชน

                  เป็นประโยชน์กับประเทศส่วนรวม กฎหมายแบบนี้เป็นประโยชน์กับเฉพาะกลุ่มนายทุน
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2   ไปคาดหวังว่า ให้ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้เสนอร่างกฎหมายส่วนใหญ่ไม่ได้ แต่แน่นอน หน้าที่ในการ
                  สภานิติบัญญัติจะเป็นผู้บอกแบบนั้น และตามไปดู เพราะฉะนั้นความเป็นจริงเป็นอย่างนั้น เราจะ



                  คิดเสนอร่างกฎหมายนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่ง แต่หน้าที่หลักจริงๆ ก็คือ ดูว่ากฎหมายที่จะนำไป
                  บังคับใช้นั้นเป็นประโยชน์ เรามักจะไม่เข้าใจตรงนี้อยู่เยอะทีเดียว คิดว่า ในรัฐธรรมนูญใหม่
   270   271   272   273   274   275   276   277   278   279   280