Page 283 - kpi17073
P. 283
282 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
การสร้างดุลอำนาจภายในรัฐสภา
แม้ว่าอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยทั้งสามฝ่ายจะถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญให้ทำงาน
กันคนละหน้าที่ ไม่ก้าวก่ายซึ่งกันและกัน แต่ในทางปฏิบัติที่ผ่านมาประเทศไทยค่อนข้างมีปัญหา
ในเรื่องนี้มากพอสมควร จะเห็นได้จากรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2550 ที่คณะรัฐประหารได้ร่างขึ้น
เมื่อประกาศใช้กลายเป็นปัญหาให้นักการเมืองในระบอบประชาธิปไตยภาคประชาชนไม่ยอมรับ
เมื่อไม่ยอมรับจำเป็นต้องมีการแก้ไข รัฐสภาจึงทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามอำนาจหน้าที่ของ
รัฐสภา และเป็นหน้าที่ซึ่งถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน แต่ผลของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
กลับถูกนักการเมืองฝ่ายค้าน ทั้งผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ยื่นฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนุญวินิจฉัยว่าเป็นความผิด ส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. ดำเนินการเข้าสู่การถอดถอน
กลายเป็นเรื่องที่เกิดปัญหากันไปทั้งระบบ และเป็นข่าวสารที่ชาวโลกให้ความสนใจ และ
ฉงนใจกันไปตามๆ กันว่า รัฐสภาทำตามอำนาจหน้าที่และเป็นหน้าที่ซึ่งกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทในหารปกครองประเทศ เป็นความผิดได้อย่างไร ถ้ารัฐสภาแก้กฎหมาย
ไม่ได้แล้วประเทศนี้ใครจะเป็นผู้แก้กฎหมาย
นี่คือปัญหาที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง เกิดการตีความกันจนบ้านเมืองเกิดการขัดแย้ง นำไปสู่
การรัฐประหารในปี พ.ศ.2557
ดังนั้น การสร้างดุลอำนาจภายในรัฐสภาที่ถูกต้องตามหลักประชาธิปไตย จะต้องแก้ที่ตัว
รัฐธรรมนูญ โดยรัฐธรรมนูญจะต้องกำหนดอำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่าย
ตุลาการไว้ให้ชัดเจน อย่าคลุมเครือจนต้องตีความกันสับสนอีก ต้องทำให้อำนาจทั้งสามฝ่ายไม่ถูก
ครอบงำโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชน และเป็นศูนย์กลาง
สำคัญในการบริหารประเทศ
ส่วนการทำงานภายในรัฐสภานั้น รัฐสภาไทยเป็นระบบสภาคู่ มีการถ่วงดุลกันอยู่แล้ว
จากวุฒิสภา และเวทีของรัฐสภานั้น เขาให้เป็นเวทีของการถกเถียงกันอย่างมีเหตุผล นอกจาก
วุฒิสภาเป็นสภาถ่วงดุลแล้ว ยังมีฝ่ายค้านที่คอยตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลอยู่ด้วยตลอดเวลา
การทำงานภายในของรัฐสภาจึงไม่น่าจะมีปัญหาอย่างไร
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2