Page 245 - kpi17073
P. 245

244     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  3. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งขั้นต้น


                       ด้วยเหตุผลที่คนไทยไม่มีความคุ้นเคยกับแนวคิดเรื่อง “การแสดงตัวตนทางการเมืองผ่าน
                  การเป็นสมาชิกพรรคการเมือง” (Party Identification) จึงทำให้การที่จะเลือกระบบการเลือกตั้ง
                  ขั้นต้นว่าจะเป็นระบบเปิด ระบบปิด ระบบกึ่งปิด หรือ ระบบสองคนคะแนนสูงสุด สำหรับ

                  ประเทศไทยไม่ได้เป็นไปได้ด้วยวิธีการที่ง่ายนัก เพราะการที่คนไทยไม่ได้แสดงตัวตนทางการเมือง
                  หรือความคิดทางการเมืองผ่านการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองจึงทำให้การใช้ระบบการเลือกตั้ง

                  ขั้นต้นทุกแบบนั้นไม่อาจจะทำได้โดยง่าย ยิ่งไปกว่านั้น การที่ประเทศไทยไม่ได้มีระบบการลง
                  ทะเบียนเพื่อเลือกตั้ง (Vote Registration) จึงทำให้การระบุสถานภาพของการเป็นสมาชิก
                  พรรคการเมืองนั้นทำไม่ได้โดยง่าย


                       เช่นนั้นแล้ว ข้อเสนอที่มีคือ ในการจัดให้มีการเลือกตั้งขั้นต้นสำหรับประเทศไทยจะเป็นแบบ

                  ระบบเปิดที่เปิดโอกาสให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกคนมาใช้สิทธิเลือกตั้งได้ในวันเลือกตั้งขั้นต้นที่จะจัดขึ้น
                  ในวันเดียวกันทุกพรรค (รายละเอียดของการจัดการการเลือกตั้งจะอธิบายเพิ่มเติมในส่วนต่อไป)
                  โดยในการใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิจะต้องระบุว่าตนต้องการที่จะใช้สิทธิเลือกตั้งขั้นต้นให้แก่

                  พรรคใด และจะมีสิทธิเพียงสิทธิเดียวในการเลือกตั้ง นั่นคือ หากใช้สิทธิในการเลือกตั้งขั้นต้นให้
                  กับพรรคหนึ่งๆ แล้วก็จะไม่สามารถไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งขั้นต้นให้กับพรรคใดๆ อีก เพื่อ

                  ป้องกันการลงคะแนนเสียงที่ให้ผลไปในทางลบกับพรรคการเมืองอื่นๆ

                  4. ระบบการเลือกตั้งที่ใช้


                       ระบบการเลือกตั้งที่ใช้ในการเลือกตั้งขั้นต้นที่ใช้นั้นจะเป็นระบบเสียงข้างมาก (Majoritarian)

                  หรือที่เรียกว่า ระบบคะแนนนำกำชัย (First Past the Post – FPTP) โดยผู้ที่มีคะแนนสูงสุดใน
                  การเลือกตั้งครั้งนั้นจะได้เป็นตัวแทนของพรรคนั้นในการเลือกตั้งทั่วไป


                       นอกจากนี้นอกจากการกำหนดรูปแบบของการเลือกตั้งขั้นต้นแล้ว อีกประเด็นหนึ่งที่จะต้อง
                  นำเข้ามาพิจารณาร่วมด้วย คือ ประเด็นของการ “การจัดการการเลือกตั้งขั้นต้น” โดยสามารถ

                  แบ่งออกได้เป็นการจัดการเลือกตั้งเป็น 2 แบบ คือ


                         ๏ แบบที่ 1 ตามการสิ้นสภาพของสภาเมื่อครบกำหนดตามอายุของสภา การจัดการ
                           เลือกตั้งในแบบที่ 1 นั้นจะเริ่มกระบวนการได้ในระยะเวลา 3 เดือนก่อนที่สภาจะครบ
                           กำหนด นั่นคือ ผู้ที่คิดว่าจะสมัครจะสามารถยื่นแสดงเจตจำนงค์ ยื่นบัญชีรายชื่อ

                           ผู้สนับสนุน และจ่ายค่าสมัครได้ทันทีและวันที่จะจัดการการเลือกตั้งขั้นต้นอาจจะเกิด
                           ขึ้นก่อน 30 วันก่อนวันเลือกตั้งทั่วไป



                         ๏ แบบที่ 2 ตามการสิ้นสภาพของสภาจากการยุบสภา การจัดการเลือกตั้งในแบบที่ 2 นี้
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2   มีความซับซ้อนอยู่ในระดับหนึ่งในเรื่องของเงื่อนไขของเวลา เพราะการสิ้นสภาพของ

                           สภาจากการยุบสภานั้นจะทำให้การจัดการการเลือกตั้งขั้นต้นนี้จะมีเวลาที่จำกัดมากขึ้น
                           ทั้งนี้เพราะการกำหนดการเลือกตั้งครั้งใหม่หลังจากการเลือกตั้งมักจะกำหนดไว้ในช่วง
                           ระยะเวลา 45-60 วันหลังจากมีพระราชกฤษฎีกายุบสภา ดังนั้น หากจะจัดให้มีการ
   240   241   242   243   244   245   246   247   248   249   250