Page 242 - kpi17073
P. 242
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 241
ลงโทษซึ่งอาจส่งผลต่ออนาคตในการทำงานร่วมกันของ ส.ส. ผู้นั้นกับพรรคการเมืองที่สังกัด ผลที่
ตามมาคือ ส.ส. ผู้นั้นอาจไม่ได้รับการส่งลงรับสมัครเลือกตั้งในนามพรรคการเมืองนั้นอีก
ยิ่งไปกว่านั้น หาก ส.ส. บางคนได้ทำหน้าที่ผู้แทนด้วยการมีพฤติกรรมที่เป็นอิสระจากการ
กำกับของพรรคที่อาจไม่ได้จำกัดแค่ในกระบวนการนิติบัญญัติ แต่อาจหมายรวมถึงการแสดงออก
ทางด้านพฤติกรรมทั้งในสภาและนอกสภา ผลที่ ส.ส. คนนั้นๆ จะต้องรับมาคือ การลงโทษจาก
พรรคการเมืองต้นสังกัด ไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการมีตำแหน่งทางการเมืองอื่นๆ นอกเหนือจากการ
เป็นเพียง ส.ส. ในสภา การมีความก้าวหน้าในส่วนการบริหารพรรค และสิ่งที่สำคัญที่สุด
ยังคงสถานการณ์เป็นสมาชิกพรรคและโอกาสในการลงสมัครรับลงเลือกตั้งในนามพรรคการเมือง
นั้นอีก
อย่างไรก็ดี อาจมีข้อโต้แย้งว่าในการลงรับสมัครเลือกตั้งในนามพรรคการเมืองนั้นยังคงไม่
ปิดเสียทีเดียวสำหรับ ส.ส. ที่ไม่ได้รับโอกาสในการลงสมัครรับเลือกตั้งจากพรรคตั้นสังกัดเดิม
เพราะในรัฐธรรมนูญปี 2550 ได้ระบุคุณสมบัติที่ยังเปิดโอกาสให้ ส.ส. ที่อาจจะถูกตัดสิทธินั้นได้
รับโอกาสในการได้รับการส่งรับสมัครในนามพรรคอื่นโดยการกำหนดเงื่อนเวลาที่เปิดโอกาสให้
คุณสมบัติหนึ่งในการลงสมัครนั้นมีระยะที่สั้นลงพอที่จะให้ ส.ส. คนใดคนหนึ่งที่ได้มีพฤติกรรม
ในสภาที่มีความเป็นอิสระแต่ผิดระเบียบพรรคได้มีโอกาสลงในพรรคการเมืองอื่น
แต่คำถามที่ตามมา คือ การกำหนดเรื่องเงื่อนไขเวลานี้เพียงพอหรือมีน้ำหนักมากต่อการ
ตัดสินใจที่จะทำให้ ส.ส. เลือกที่จะมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการขัดต่อหลักการการมีวินัยพรรคหรือ
ไม่หากการมีพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนหรือขัดหลักการจะทำให้เกิดผลตามมาที่ไม่พึงปรารถนาแก่
ส.ส. นั่นคือ การหมดโอกาสการลงสมัครรับเลือกตั้ง
ดังนั้น ข้อเสนอตัวแบบที่ 2 นี้เป็นข้อเสนอที่มุ่งแก้ไขปรับปรุงกระบวนการคัดสรรบุคคล
เข้าสู่ระบบการเมืองหรือกล่าวในอีกแง่หนึ่งคือการแก้ไขกระบวนการและคุณสมบัติการลงรับสมัคร
เลือกตั้งของบุคคล โดยตั้งอยู่บนสมมติฐานว่าการที่ ส.ส. จะตัดสินใจในการแสดงพฤติกรรมที่
เบี่ยงเบนจากระเบียบพรรคการเมือง (แต่เป็นพฤติกรรมที่ถือว่าตอบสนองความต้องการของคนใน
พื้นที่ และเป็นพฤติกรรมที่ถือว่าเป็นการทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ) นั้นจะต้องมีแรงจูงใจและ
ผลที่ตามมามีน้ำหนักเพียงพอที่จะช่วยให้การตัดสินใจในการจะมีพฤติกรรมอันเป็นอิสระนั้นเป็น
ผลดีต่อการตัดสินใจให้มีมากกว่าการตัดสินใจที่ไม่ได้ทำให้ความเป็นอิสระในการแสดงพฤติกรรม
ที่เกิดขึ้น
โดยข้อเสนอตัวแบบที่ 2 นี้แบ่งออกเป็น 2 ตัวแบบที่หลักการแบ่งอยู่ที่ระดับของการให้
อิสระแก่ ส.ส. ที่ยังคงให้ความสำคัญของพรรคการเมืองในกระบวนการคัดสรรบุคคลเข้าสู่ระบบ
การเมือง นั่นคือ
๏ ตัวแบบที่ 1 การจัดให้มีการเลือกตั้งขั้นต้น (Primary Election) เป็นข้อเสนอที่เพิ่ม
ความเป็นอิสระต่อพฤติกรรมของ ส.ส. แต่ยังคงให้ความสำคัญของพรรคการเมือง การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2
ในกระบวนการคัดสรรบุคคลในระดับหนึ่ง