Page 238 - kpi17073
P. 238
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 237
วินัยของพรรคนั้นหมายถึงการทำให้การทำงานของผู้แทนฯ ในสภานั้นควรเป็นไปในแบบ
กลุ่มก้อนพรรคการเมืองมากกว่าการแสดงออกแบบส่วนบุคคล และที่สำคัญพฤติกรรมการ
ลงคะแนนเสียงแบบเป็นกลุ่มก้อนนี้ถือได้เป็นปทัสฐาน (Norm) ของการทำงานของพรรคการเมือง
ในระบบการเมืองแบบระบบรัฐสภา ในส่วนของความเป็นระเบียบวินัยในการลงมติของพรรค
เป็นการแสดงการสนับสนุนฝ่ายบริหารที่มาจากพรรคของตนเองและการดำรงเสถียรภาพและ
ความมั่นคงของรัฐบาล (Governmental Stability) ความเป็นระเบียบวินัยในการลงมติมีความ
สำคัญเป็นอย่างมากต่อพรรคการเมือง โดยเฉพาะพรรคแกนนำรัฐบาลเพราะหัวใจของการเป็น
พรรคแกนนำรัฐบาลในส่วนของฝ่ายนิติบัญญัติ คือ การสนับสนุนฝ่ายบริหารที่มาจากพรรคของ
พวกตน การลงมติที่ผิดแผกไปจากมติพรรคจะทำให้การมีสถานะการเป็นพรรคแกนนำรัฐบาล
หรือร่วมรัฐบาลดำรงอยู่ต่อไปหรือจบลงหลังจากการลงมติได้สิ้นสุดลง ทั้งนี้เนื่องจากการพ่ายแพ้
ในผลการลงมติในเรื่องที่สำคัญๆ เช่น ร่างกฎหมายที่พรรคได้หาเสียงไว้ ร่างกฎหมายที่แสดงให้
เห็นถึงจุดยืนด้านนโยบาย และที่สำคัญที่สุดคือ การลงมติในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล
(Vote of Confidence) ย่อมหมายถึงการหมดความชอบธรรมในการเป็นพรรครัฐบาล
(Davidson-Schmich, 2006; Kam, 2009)
แต่ในทางปฏิบัติในกรณีของหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยแล้ว ความเป็น
ระเบียบวินัยในพรรคการเมือง (Party Discipline) กลับนำไปสู่การทำงานที่ ส.ส. ไม่ได้ทำหน้าที่
ผู้แทนประชาชนได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุของการไร้อิสระในการทำงานและ
การแสดงพฤติกรรมในสภา เพราะในการทำให้เกิดความเป็นระเบียบวินัยในพรรคการเมืองนั้น
การรวมศูนย์อำนาจของการจัดการในพรรคการเมืองเป็นสิ่งที่จำเป็น
ที่สำคัญ การมีพฤติกรรมของ ส.ส. ที่จัดว่าเป็นพฤติกรรมที่มีระบียบวินัยตามที่กำหนด
โดยพรรคนั้นเป็นแรงจูงใจที่สำคัญในความต้องการในการ “ลงเลือกตั้ง” อีกครั้งหนึ่ง เพราะ
รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ว่าการจะลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. นั้น ผู้ลงสมัครจะต้องสังกัด
พรรคการเมือง ดังนั้น การที่นักการเมืองคนหนึ่งจะสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งไดนั้น จะต้องผ่าน
กระบวนการสรรหาคัดเลือกจากพรรคการเมืองที่สังกัด ซึ่งการตัดสินใจในกระบวนการนั้น ก็จะ
หนีไม่พ้นการตัดสินใจของกลุ่มที่เรียกว่า “กลุ่มที่กุมบังเหียนพรรค” (Party Machine) โดย
ธรรมชาติแล้วการเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคของบุคคลนั้นมีนัยในทางหนึ่งว่าตนได้เข้าใจและพร้อม
ปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินงานในทางนโยบายและการเมืองของพรรค
ยิ่งการเป็นตัวแทนพรรคในการลงสมัครรับเลือกตั้งด้วยแล้วนั้น การแสดงออกหรือเคย
แสดงออกว่าในการทำหน้าที่ในรัฐสภานั้นบุคคลนั้นๆ ได้มีระเบียบวินัยและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
กับความต้องการของพรรคดังนั้น การมีพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาและที่ผิดไปจากปทัสฐาน
(Norm) ของการทำงานของพรรคจึงส่งผลต่อการพิจารณาเพื่อส่งลงสมัครรับเลือกตั้ง เพราะ
ฉะนั้น การคัดเลือกผู้สมัครจึงเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดที่จะป้องกันให้บุคคล/สมาชิก ประเภทที่อาจ
จะก่อปัญหาให้เกิดขึ้นในอนาคตได้ไม่สามารถจะเข้ามาสู่สภาได้ ยิ่งไปกว่านั้น ในบางกรณี
พรรคการเมืองอาจเขียนข้อบังคับในพฤติกรรมทำนองนี้ไว้ในข้อบังคับและใบสมัครพรรคในคราว การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2
เดียวกัน (Bowler, Farrell and Katz, 1998)