Page 240 - kpi17073
P. 240

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   239


                       ั  บบ    1: การเพ   ประเ  นพ  าร า นส า     ้  สระ นการล

                            ข้อบัญญัติในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 162 วรรคสอง ได้บัญญัติว่า “สมาชิกสภา
                      ผู้แทนราษฎรมีอิสระจากมติพรรคการเมืองในการตั้งกระทู้ถาม การอภิปราย และการลงมติใน

                      การอภิปรายไม่ไว้วางใจ”ถือเป็นหลักสำคัญหนึ่งที่การันตีการทำหน้าที่ ส.ส. ที่มุ่งให้เกิดการเป็น
                      ตัวแทนของประชาชนให้เพิ่มมากขึ้น เพราะก่อนหน้านี้ ส.ส. ไม่สามารถลงมติใดที่สวนทางกับมติ

                      ของพรรคได้เลย การระบุมาตรานี้ไว้จึงเป็นการเพิ่มการมีอิสระในการทำหน้าที่ของ ส.ส. ให้มาก
                      ขึ้นกว่าที่เป็นมาอย่างไรก็ดี การระบุว่า ส.ส. มีอิสระในการลงมติที่ไม่อยู่ใต้มติพรรคเพียงสาม
                      อย่างนี้นั้น อาจจะไม่เพียงพอต่อการเพิ่มความเป็นอิสระให้ ส.ส. เพื่อทำหน้าที่ผู้แทนได้มาก

                      เท่าไหร่


                            แม้การมีระเบียบวินัยในพรรค (Party Discipline) จะเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันกับระบบโครงสร้าง
                      แบบรัฐสภา (Parliamentary System) แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าการให้อิสระเสรีในการโหวต
                      หรือในทางวิชาการที่เรียกว่า ‘Free Vote’ จะไม่ได้มีการนำมาใช้ในประเทศที่มีการจัดโครงสร้าง

                      แบบรัฐสภา จึงเท่ากับว่า การถือปฎิบัติที่อนุญาตให้ ส.ส. สามารถลงมติได้อย่างอิสระเพิ่มขึ้น
                      มีความเป็นไปได้ (Hibbing and Marsh, 1987; McKeown and Lundie, 2009; Cowley and

                      Stuart, 2010; Plumb andMarsh, 2011, 2013)


                       ั  บบส  รับประเ

                            แม้การเปิดโอกาสให้มีการลงมติอย่างอิสระจะถูกเทียบว่าเป็นการ “ลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาล”
                      ประจำวันและเสี่ยงต่อการเสียรังวัดทางการเมืองของพรรคการเมืองหากการลงมตินั้นทำให้เกิด

                      ความได้เปรียบเสียเปรียบทางการเมืองเกิดขึ้น แต่ในอีกด้านหนึ่งการให้มีการลงมติอย่างอิสระก็ได้
                      แสดงให้เห็นว่าความแตกแยกในพรรคการเมืองนั้นๆ ไม่เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน


                            โดยข้อเสนอที่เป็นตัวแบบในส่วนนี้จะเป็นข้อเสนอที่ประยุกต์แนวคิดการให้มีการลงมติอย่าง
                      อิสระของประเทศออสเตรเลีย (และประเทศอื่นๆ) มาใช้ แม้หลักการพิจารณาเรื่องที่จะพิจารณา
                      ว่าเรื่องที่สามารถลงมติได้นั้นซึ่งในปัจจุบันได้จำกัดประเด็นเนื้อหาของเรื่องพิจารณาไว้ที่ประเด็น

                      ของเรื่องศีลธรรม ความซับซ้อนในวิทยาศาสตร์กับชีวิตมนุษย์ และจำกัดในเรื่องของนโยบายทาง
                      เศรษฐกิจของประเทศแต่ข้อเสนอในตัวแบบนี้จะเสนอดังนี้


                             1. ยังคงให้มีการมีการบัญญัติถึงประเด็นตามรัฐธรรมนูญที่บัญญัติให้ ส.ส. มีอิสระจากมติ

                                พรรคใน 3 เรื่องคือ การตั้งกระทู้ถาม การอภิปราย และการลงมติในการอภิปรายไม่ไว้
                                วางใจ


                             2. กำหนดให้เพิ่มเข้าไปในรัฐธรรมนูญตามประเด็นที่ถูกแบ่งประเภทไว้ 4 ประเภท จาก
                                การศึกษาเรื่องการลงมติอย่างอิสระในหลายๆ ประเทศไว้ทั้งหมด ได้แก่
                                 ๏ ประเด็นของชีวิตและความตาย (Life and Death Issues)

                                 ๏ ประเด็นทางศีลธรรมและความเชื่อทางสังคม (Social and Moral Issues)                       การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2
                                 ๏ ประเด็นของการผสมพันธุ์/การให้กำเนิดชีวิต (Fertilization)
   235   236   237   238   239   240   241   242   243   244   245