Page 237 - kpi17073
P. 237

236     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  ส.ส. ในสภา ยกตัวอย่างในกรณีของการเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายจะเห็นว่า แม้การทำหน้าที่ทาง
                  นิติบัญญัติโดยการเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายนั้นอาจถูกมองว่าเป็นเรื่องของบุคคลมากกว่าระบบ

                  แต่จากการสืบค้นเพิ่มเติมจะพบว่าในปัจจุบันระบบการทำงานของพรรคการเมืองส่วนใหญ่นั้นเป็น
                  ระบบการทำงานแบบรวมศูนย์อำนาจนั่นคือ มีการจัดระบบการทำงานที่พรรคจะกำหนดทิศทางใน
                  การทำงานของ ส.ส. ที่สังกัดพรรคในสภาที่จะต้องเป็นไปในทางเดียวกัน ซึ่งข้อตกลงในการทำงาน

                  และปฏิบัติการในสภานี้อาจจะมาจากมติของ ส.ส. ในที่ประชุมทั้งหมด หรืออาจจะมาจาก
                  คณะผู้บริหารพรรคได้เช่นกัน โดยข้อตกลงอาจได้ระบุว่าการดำเนินงานในส่วนของการเสนอ

                  ร่างกฎหมายนี้จะมอบหมายให้ ส.ส. คนใดหรือกลุ่มใดรับไปดำเนินการ หรือ จะปล่อยให้เป็น
                  หน้าที่ของคณะรัฐมนตรีของพรรค (หากเป็นพรรคร่วมรัฐบาล) เป็นผู้ดำเนินการในส่วนนี้ ดังนั้น
                  การได้เห็นตัวเลขที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอร่างกฎหมายเพื่อพิจารณาเป็นส่วนใหญ่จึงไม่ได้

                  สะท้อนถึงความด้อยประสิทธิภาพของ ส.ส. ที่มาจากสาเหตุส่วนบุคคล แต่เป็นสาเหตุของระบบ
                  การทำงานของพรรคเสียมากกว่า


                       และเมื่อพิจารณาพฤติกรรมการลงมติในเรื่องพิจารณาต่างๆ ในสภาของ ส.ส. ก็จะเห็นว่า
                  สาเหตุที่แท้จริงนั้นมาจากระบบการทำงานของพรรคการเมืองมากกว่าเรื่องของบุคคล ด้วยเหตุผล

                  ที่ว่า แม้โดยหลักการแล้วนั้น ส.ส. เป็นตัวแทนของประชาชนในเชิงพื้นที่  การลงมติในบางเรื่อง
                                                                                     5
                  จึงต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของพื้นที่ของตน ซึ่งในบางกรณีผลประโยชน์ของพื้นที่หนึ่งย่อมส่ง

                  ผลกระทบในทางลบต่ออีกพื้นที่หนึ่งได้ ดังนั้น การลงมติในบางกรณี ส.ส. อาจจะไม่สามารถที่จะ
                  ลงมติไปในทางเดียวกับที่พรรคได้มีมติไว้ แต่จากข้อมูลที่นำมาแสดงให้เห็นนั้น ก็พบว่า
                  พฤติกรรมการลงมติของ ส.ส. หาเป็นไปในทิศทางที่ได้กล่าวไว้ ซึ่งสาเหตุที่ระบุได้ในส่วนนี้ คือ

                  สาเหตุเดียวกับพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในทางนิติบัญญัติของ ส.ส. นั่นก็คือ ระบบการทำงานของ
                  พรรคการเมืองที่รวมอำนาจการตัดสินใจในการบริหารพรรคการเมืองทั้งในเรื่องของการทำงาน

                  ในสภาไปจนถึงขั้นตอน กระบวนการ และวิธีการคัดสรรผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งที่คณะกรรมการ
                  บริหารพรรคเป็นผู้กำหนด ทำให้การมีพฤติกรรมที่ไม่เป็นที่พึงประสงค์ของคณะกรรมการบริหาร
                  พรรคและคณะทำงานกำหนดทิศทางการทำงานของพรรคการเมืองในสภาจึงไม่เป็นพฤติกรรมที่

                  ส.ส. จะเลือกทำ เป็นต้นว่า การลงคะแนนเสียงที่ผิดไปจากมติพรรค หรือ การเสนอเรื่อง
                  เข้าพิจารณาที่ไม่ได้ตกลงกันในพรรคไว้ก่อน


                       อย่างไรก็ดี ในทางวิชาการปัจจัยหนึ่งที่สามารถอธิบายการที่พรรคการเมืองมีระบบ
                  พรรคการเมืองที่รวมศูนย์นั้น คือ ปัจจัยที่เรียกว่า ความเป็นระเบียบวินัยในพรรคการเมือง (Party

                  Discipline) ซึ่งปัจจัยนี้เป็นตัวขับที่ทำให้พรรคการเมืองในระบบรัฐสภานั้นจำเป็นต้องมีการทำงาน
                  ที่เป็นระบบรวมศูนย์ในระดับหนึ่ง


                       ในทางทฤษฎี การมีระเบียบวินัยในพรรค (Party Discipline) จะนำไปสู่การดำเนินงานของ
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2   เป็นตัวแทนของประชาชนเพราะการมีพฤติกรรมที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันผ่านความเป็นระเบียบ
                  พรรคการเมืองด้วยความมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จในการทำหน้าที่ในสภาและการ





                        แม้ในกรณีของ ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ จะไม่ได้ระบุพื้นที่ของการเป็นตัวแทน แต่การทำหน้าที่เป็นตัวแทน
                     5
                  ของ ส.ส. ที่มาจากระบบการเลือกตั้งส่วนนี้ก็ถือว่าพื้นที่นั้น คือทั้งประเทศ
   232   233   234   235   236   237   238   239   240   241   242