Page 234 - kpi17073
P. 234
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 233
ให้เห็นว่า ครึ่งหนึ่งของ ส.ส. ในสภานั้นไม่เคยลงมติในทิศทางที่ “สวนทาง” กับเสียงส่วนใหญ่ของ
พรรคเลย
สรุปในภาพรวมผลการลงมติของ ส.ส. ชุดที่ 24
ตารางที่ 14 แสดงภาพรวมของการลงมติตามกลุ่มการลงมติของ ส.ส. ทั้งหมดที่นำมา
พิจารณา จะเห็นได้ว่าในภาพรวมจำนวนผู้ลงมติมีแนวโน้มที่จะอยู่ในกลุ่ม A และ กลุ่ม B คือมี
แนวโน้มที่จะลงมติไปตามเสียงส่วนใหญ่ของพรรค เพื่อพิจารณาจากผลรวมทุกการลงมติ ผู้ที่อยู่
ในกลุ่ม A ซึ่งลงมติไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกับพรรค เพียงร้อยละ 0 – 25 มีจำนวน 258 คน
คิดเป็นร้อยละ 52.12 จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 495 คน (ไม่รวมพรรค
ประชาธิปไตยใหม่พรรคมหาชนพรรคมาตุภูมิและพรรครักษ์สันติ) และผู้ที่อยู่ในกลุ่ม B ซึ่งลงมติ
ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกับพรรค ร้อยละ 26 – 50 มีจำนวน 93 คน คิดเป็นร้อยละ 18.19
ซึ่งเมื่อรวมจำนวนคนที่จัดอยู่ในกลุ่ม A และ B จะมีทั้งสิ้น 351 คน คิดเป็นร้อยละ 70.31
และเมื่อพิจารณาแยกเป็นการลงมติที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย และญัตติอื่นๆ ก็จะพบว่าเป็น
ไปในทิศทางเดียวกัน (ตารางที่ 15) กล่าวคือ ภาพรวมจำนวนผลการลงมติมีแนวโน้มที่จะอยู่ใน
กลุ่ม A และ กลุ่ม B โดยในส่วนของการลงมติที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายพบว่ากลุ่ม A มีจำนวน
261 คน คิดเป็นร้อยละ 52.73 และกลุ่ม B มีจำนวน 67 คน คิดเป็นร้อยละ 13.54 เมื่อรวม
จำนวนคนที่จัดอยู่ในกลุ่ม A และ B จะมีทั้งสิ้น 328 คน คิดเป็นร้อยละ 66.27 และส่วนของ
การลงมติเกี่ยวกับญัตติอื่นๆ พบว่ากลุ่ม A มีจำนวน 227 คน คิดเป็นร้อยละ 45.86 และกลุ่ม
B มีจำนวน 203 คน คิดเป็นร้อยละ 41.01 เมื่อรวมจำนวนคนที่อยู่ในกลุ่ม A และ B จะมีทั้งสิ้น
430 คิดเป็นร้อยละ 86.87
ดังนั้น จากผลของข้อมูลจะเห็นได้ว่าในภาพรวมการลงมติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วน
ใหญ่นั้นในการลงมติจะเป็นการลงมติในทิศทางที่ “สอดคล้อง” กับ แบบการลงมติส่วนใหญ่ของ
พรรค เพราะข้อมูลได้แสดงให้เห็นแล้วว่าหากพิจารณาที่การลงมติมากกว่า 3 ใน 4 ที่สอดคล้อง
ก็จะเห็นว่ามีจำนวน ส.ส. เกินครึ่งที่ลงมติสอดคล้อง และถ้าพิจารณาการลงมติที่มากกว่าครึ่ง
จำนวนของ ส.ส. ที่ลงมติแบบสอดคล้องก็จะมากกว่า 3 ใน 4 ของ ส.ส. ทั้งหมด การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2