Page 239 - kpi17073
P. 239
238 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
เท่ากับว่า ข้อสรุปของการศึกษานี้ ได้ตั้งสมมติฐานว่าต้นสายของสาเหตุที่นำไปสู่ความ
ไร้ประสิทธิภาพของ ส.ส. นั้นคือ “ระบบของพรรคการเมือง” มากกว่า “ระบบการจัดการภายใน
รัฐสภา” อย่างที่งานการศึกษาชิ้นอื่นๆ ได้พบมาก่อนหน้านี้
ดังนั้นการเสนอตัวแบบและวิธีในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ ส.ส. จึงจะไม่จำกัด
อยู่เพียงแค่การปรับปรุงทั้งในส่วนที่เป็นกฎระเบียบการทำงาน การให้อำนาจหน้าที่ การกำหนด
พฤติกรรม หรือข้อบังคับการประชุม แต่จะเป็นการเสนอตัวแบบและวิธีที่เพิ่มประสิทธิภาพ
ด้วยการจัดการกับระบบพรรคการเมืองและการเข้าสู่อำนาจและการทำหน้าที่ของ ส.ส.ควบคู่
ไปด้วยกัน
ตัวแบบเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพ
ตัวแบบที่จะถูกนำเสนอในส่วนนี้ จะเป็นตัวแบบที่ถูกออกแบบให้เพิ่มประสิทธิภาพ
การทำงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่ไม่เพียงแค่เสนอให้เกิดการเปลี่ยนไปแค่การ
แก้ไขข้อบังคับการประชุม ขั้นตอนการดำเนินงานในสภา แต่จะเสนอตัวแบบที่มุ่งเพิ่ม
ประสิทธิภาพโดยการแก้ปัญหาที่ซ่อนอยู่ในสาเหตุที่แท้จริง นั่นคือ การไร้อิสระในการทำหน้าที่
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งการจะหาวิธีการเพิ่มความอิสระในการทำหน้าที่ให้กับ ส.ส. นั้นจะ
ต้องเข้าไปจัดการกับประเด็นที่มาของการเข้าสู่อำนาจและการทำหน้าที่ของ ส.ส. และ ระบบการ
บริหารจัดการภายในพรรคการมืองเพราะเมื่อสามารถหาวิธีจัดการกับทั้งสองประเด็นนี้แล้วความ
เป็นอิสระของ ส.ส. จะเพิ่มขึ้นมาซึ่งเท่ากับว่าระดับประสิทธิภาพของการทำงานในสภาของ ส.ส.
ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
อย่างไรก็ดี การสร้างตัวแบบในการศึกษานี้ได้ตั้งสมมติฐานว่าการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง
เพื่อเพิ่มความเป็นอิสระของ ส.ส. ในครั้งนี้นั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานการจัดโครงสร้างรัฐสภาและที่มา
ของการคัดสรร ส.ส. เข้ามาทำหน้าที่ในแบบที่เคยปฎิบัติมา นั่นคือ รัฐสภาจะประกอบไปด้วย
สองสภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา โดย ส.ส. ทั้งหมดที่จะเข้ามาทำหน้าที่ในสภานั้นจะ
มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดและระบบการทำงานในส่วนของ ส.ส. นั้นยังทำหน้าที่เป็นฝ่าย
นิติบัญญัติควบคู่ไปกับการตรวจสอบและติดตามการทำงานของฝ่ายบริหาร
ทั้งนี้ ตัวแบบที่จะนำเสนอนั้น จะเป็นตัวแบบที่มีดีกรีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการวาง
กฎระเบียบที่มาและการทำหน้าที่ของ ส.ส. ที่เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงที่น้อยและไม่ต้องการ
การเปลี่ยนแปลงในการออกแบบระบบโครงสร้างและสถาบันทางการเมืองของประเทศมากนักไป
จนถึงการเปลี่ยนแปลงในเชิงระบบของที่มาและการเข้าสู่อำนาจของ ส.ส. โดยที่การมีตัวแบบที่
หลากหลายตามดีกรีการเปลี่ยนแปลงนั้นก็เพื่อเป็นตัวเลือกและเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะ
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2
เลือกตัวแบบที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น