Page 243 - kpi17073
P. 243
242 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
๏ ตัวแบบที่ 2 การลดข้อจำกัดในการลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นข้อเสนอที่การมีส่วนร่วม
ของพรรคการเมืองนั้นได้ลดลงไป
ซึ่งรายละเอียดของข้อเสนอตัวแบบทั้งสองแบบมีรายละเอียดดังนี้
ตัวแบบที่ 2.1: การจัดให้มีการเลือกตั้งขั้นต้น (Primary Election)
โดยทั่วไป การจัดให้มีการเลือกตั้งขั้นต้น (Primary Election) ถือเป็นกระบวนการหนึ่ง
ในการคัดสรรผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งของพรรคการเมืองสู่สนามการเลือกตั้ง ส่วนหนึ่งการ
เลือกตั้งขั้นต้นจะเป็นส่วนช่วยในการจัดสรรจำนวนผู้ที่จะถูกส่งเป็นตัวแทนพรรคให้อยู่ในจำนวนที่
ต้องการ อีกส่วนหนึ่งการเลือกตั้งขั้นต้นเป็นหนทางของการดึงอำนาจการตัดสินใจในกระบวนการ
คัดสรรผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคที่อยู่ในมือของผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจในการตัดสินใจของ
พรรคเพียงกลุ่มเดียวมาอยู่ในมือของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง อย่างไรก็ดี ผลที่จะได้จากการเสนอการ
จัดการเลือกตั้งขึ้นต้นในการศึกษานี้นอกจากสองข้อที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้ ก็ยังจะมีข้อที่สามคือ
การสร้างแรงจูงใจให้กับ ส.ส. และ สมาชิกพรรคการเมืองให้แสดงพฤติกรรมหรือทำหน้าที่ในสภา
หรือนอกสภาที่ให้ประโยชน์แก่ประชาชนในพื้นที่และทั่วไปมากกว่าประโยชน์ที่จะตกแก่
พรรคการเมืองเพียงอย่างเดียว
ั บบส รับประเ
ข้อเสนอในส่วนของรูปแบบของการเลือกตั้งขั้นต้นนั้น จะเสนอตามประเด็น 4 ประการ ซึ่ง
ได้แก่ (1) คุณสมบัติของผู้มีสิทธิในการลงเลือกตั้งและการมีชื่อในบัตรเลือกตั้ง (2) การสนับสนุน
ผู้สมัครคนใดคนหนึ่งจากพรรคการเมืองต้นสังกัดในระหว่างการเลือกตั้งขั้นต้น (3) คุณสมบัติ
ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งขั้นต้น และ (4) ระบบการเลือกตั้งที่ใช้ โดยรายละเอียดของทั้ง 4 ประเด็น
มีดังนี้ คือ
1. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิในการลงเลือกตั้งและการมีชื่อบัตรเลือกตั้ง
ข้อกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งขั้นต้นนั้นนอกจาก
คุณสมบัติหลักๆ ตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้เสมอ เช่น การมีสัญชาติไทย เกณฑ์อายุขั้นต่ำ
เกณฑ์การบ่งบอกลักษณะของการอยู่อาศัยในพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ลงรับสมัคร คุณสมบัติอันเป็นที่
ต้องห้าม แล้วนั้น คุณสมบัติที่ถูกระบุอยู่เสมอคือ “การเป็นสมาชิกพรรคการเมือง” ซึ่งในการ
เลือกตั้งขั้นต้นนี้การเป็นสมาชิกพรรคการเมืองก็ยังคงเป็นคุณสมบัติที่ยังคงไว้ เพราะตามข้อเสนอ
นี้ มีสมมติฐานว่า ส.ส. ในสมัยที่แล้วที่มาลงเลือกตั้งในการเลือกตั้งขั้นต้นนี้เป็น ส.ส. ที่ได้มีการ
กระทำหรือแสดงพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนจากที่พรรคการเมืองต้นสังกัดต้องการ จึงได้รับการลงโทษ
จากพรรคโดยการตัดสิทธิการส่งลงสมัครรับเลือกตั้งในคราวต่อไป แต่ยังไม่ได้ขับไล่ออกจาก
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2 พิสูจน์ว่าการกระทำหรือพฤติกรรมที่ตนได้มีเพื่อตอบสนองความต้องการของคนในพื้นที่ว่าเป็นที่
การเป็นสมาชิกพรรค ดังนั้น อดีต ส.ส. ผู้นี้จึงยังคงมีสถานะการเป็นสมาชิกพรรคและสามารถ
ต้องการอย่างแท้จริงอีกครั้งในการเลือกตั้งขั้นต้น