Page 248 - kpi17073
P. 248

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   247


                            (1) หาพรรคการเมืองเข้าสังกัดที่อาจจะเป็นพรรคการเมืองใหม่ที่ตนตัดสินใจเข้าสังกัด
                                เพราะเมื่อได้ทำงานในสภาแล้วค้นพบว่ามีแนวนโยบายและจุดยืนทางการเมืองที่ไปใน

                                แนวทางเดียวกัน หรือ อาจจะกลับไปเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเดิมที่เคยสังกัด เพราะ
                                พรรคอาจจะเห็นแรงสนับสนุนที่ประชาชนมอบให้แก่ ส.ส. จึงยื่นข้อเสนอให้กลับเข้ามา
                                เป็นสมาชิกพรรค


                           (2) ตั้งพรรคการเมืองใหม่ที่ตนเองเป็นแกนนำ โดยอาจจะเริ่มจากการเป็นพรรคระดับ

                                ท้องถิ่นที่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในพื้นที่

                            แต่ถ้าหากว่าการออกแบบข้อกำหนดเชิงสถาบันในส่วนของคุณสมบัติของ ส.ส. ที่ไม่ได้ระบุ

                      การที่จะต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองแล้วนั้น ก็ดูเหมือนว่าข้อเสนอตัวแบบนี้ไม่ได้มีความจำเป็น
                      อย่างไรก็ดี ข้อสังเกตนี้เป็นข้อสังเหตุที่ถูกเพียงครึ่งเดียว เพราะหากการยกเลิกการกำหนด

                      คุณสมบัติการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองของ ส.ส. ออกไปก็ไม่ได้หมายความว่า ควรจะเป็นการ
                      อนุญาตให้บุคคลที่ปราถนาที่จะลงรับสมัครเลือกตั้งสามารถลงสมัครได้เลยอัตโนมัติ แต่หากมีการ
                      อนุญาตเช่นนั้น ข้อเสนอที่อยากจะเพิ่มเติมคือ ควรจะให้ผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งที่ไม่ต้องสังกัด

                      พรรคการเมืองจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในการลงสมัครรับเลือกตั้งแบบไม่สังกัดพรรคการเมือง
                      ในข้อ 2 ถึง ข้อ 7 เพื่อเป็นการคัดกรองบุคคลที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งเสียก่อน



                      ความคาดหวังจากตัวแบบ



                            การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อหาตัวแบบในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ ส.ส. ให้
                      เพิ่มขึ้น โดยการสร้างตัวแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยไม่ได้มุ่งเป้าไปที่การปรับปรุง

                      เปลี่ยนแปลงระบบการทำงานในระบบรัฐสภาของ ส.ส. แต่มุ่งที่จะสร้างตัวแบบที่เพิ่มแรงจูงใจที่จะ
                      ทำให้ ส.ส. แสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่ถือได้ว่าเป็นการรับผิดรับชอบและสนองความต้องการของ

                      ประชาชนมากกว่าพรรคการเมืองต้นสังกัดในบางครั้ง ดังนั้น ข้อเสนอตัวแบบที่การศึกษานี้เสนอ
                      จึงเป็นข้อเสนอที่แตกต่างจากข้อเสนอที่ผ่านๆ มาที่เน้นการแก้ไขกฎระเบียบ วิธีการปฏิบัติใน
                      ระบบรัฐสภา หรือ การเพิ่มกฎหมายเพิ่มหรือลดอำนาจการทำงานของ ส.ส. แต่จะเน้นการสร้าง

                      ดุลอำนาจระหว่าง ‘นักการเมือง’ กับ ‘พรรคการเมือง’ โดยพุ่งเป้าไปยังการสร้างมาตรการ
                      ความปลอดภัย (Safety Net) ทางการเมืองให้แก่นักการเมือง


                            โดยฐานและกรอบแนวคิดของการเสนอตัวแบบในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ ส.ส.
                      จากการศึกษานี้ คือ แนวคิดที่มองว่าการมีพฤติกรรมการทำงานและการแสดงออกในการทำ

                      หน้าที่ “ผู้แทน” ในสภาฯ ของ ส.ส. ที่ไม่ได้ประสิทธิภาพนั้นมาจากการขาด “แรงจูงใจ” ในการที่
                      จะนำ ส.ส. ให้มีพฤติกรรมที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนมากกว่าความต้องการและ

                      ข้อตกลงภายในพรรคการเมือง การมีระเบียบวินัยในพรรค (Party Discipline) และความเป็น
                      อันหนึ่งอันเดียวกันของพรรค (Party Cohesion) ในพรรคการเมืองระบบรัฐสภานั้นเป็นสิ่งที่ดีโดย
                      พื้นฐานทางทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติในประเทศไทย การมีระเบียบวินัยภายในพรรคการเมืองที่มาก                การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2

                      นำไปสู่ “ระบบ” ของพรรคการเมือง ที่มีลักษณะการ “รวมศูนย์อำนาจ” ที่มีผลต่อการแสดงออก
   243   244   245   246   247   248   249   250   251   252   253