Page 246 - kpi17073
P. 246
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 245
เลือกตั้งขั้นต้นแล้วนั้น การจัดการเลือกตั้งทั่วไปอาจจะต้องขยายเวลาเพื่อรองรับการ
เลือกตั้งขั้นต้นซึ่งอาจจะใช้เวลาอย่างน้อย 30 วันเพื่อทำให้กระบวนการการเลือกตั้งนั้น
ครบถ้วนสมบูรณ์
จะเห็นว่าข้อเสนอในวันที่จัดการการเลือกตั้งขั้นต้นนี้จะกำหนดขึ้นเพียง 30 วันก่อนการ
เลือกตั้งทั่วไป ซึ่งหลายคนอาจจะมองว่าเป็นระยะเวลาที่กระชั้นชิดกับวันเลือกตั้งทั่วไปมาก แต่
การเสนอในรูปแบบนี้ก็มีอยู่บนสมมติฐานว่าการให้มีวันเลือกตั้งทั่วไปเพียง 30 วันนี้นั้น ไม่ได้เป็น
ระยะเวลาที่สั้น เพราะ ส.ส. เดิมที่มาลงสมัครเลือกตั้งขั้นต้นนี้จุดยืนทางการเมืองก็น่าจะเป็นที่
รู้จักของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและประชาชนทั่วไป รวมถึงผู้ที่คิดจะสมัครรับเลือกตั้งคนอื่นๆ ที่น่าจะมี
การวางแผนการหาเสียงและเตรียมตัวมาก่อนหน้านี้ ดังนั้น การกำหนดระยะเวลาที่มากขึ้นหรือ
น้อยลงจึงไม่น่าจะกระทบกับกระบวนการหรือระยะเวลาการหาเสียงของผู้สมัครแต่ละคน ยิ่งไป
กว่านั้น เมื่อผลการเลือกตั้งขั้นต้นออกมาแล้วนั้น ระยะเวลา 30 วันของการเลือกตั้งก็น่าจะเพียง
พอต่อการที่ผู้สมัครและพรรคการเมืองต้นสังกัดจะสามารถหาเสียงไปในทิศทางที่สอดคล้องกันได้
ตัวแบบที่ 2.2: การลดข้อจำกัดในการลงสมัครรับเลือกตั้ง (Easing Nomination
Rules)
ข้อเสนอในการลดข้อจำกัดในการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นข้อเสนอที่ลดการมีส่วนร่วมของ
พรรคการเมืองในกระบวนการคัดสรรบุคคลเข้าสู่ระบบการเมืองออกไปอย่างสิ้นเชิง เพราะในการ
ที่บุคคลจะลงสมัครรับเลือกตั้งนั้นไม่จำเป็นจะต้องสังกัดพรรคการเมืองหรือได้รับการสนับสนุน
จากพรรคการเมือง กล่าวในอีกแง่หนึ่ง คือ การเปิดโอกาสให้มี ส.ส. ที่ไม่สังกัดพรรคในระบบ
รัฐสภาไทย การเสนอตัวแบบนี้ตั้งอยู่บนฐานคิดเช่นเดียวกับข้อเสนอตัวแบบ 2.1 คือ การให้
ผลประโยชน์ที่สูงพอเพียงที่จะจูงใจให้ ส.ส. มีพฤติกรรมที่นอกเหนือไปจากข้อตกลงของพรรค
โดยพฤติกรรมและการกระทำนี้จะจำกัดเพียงการกระทำที่มาจากข้อเรียกร้องของประชาชนใน
พื้นที่หรือเป็นไปเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของคนในพื้นที่ ซึ่งการกระทำปละพฤติกรรมย่อมมี
ต้นทุนที่ ส.ส. ต้องคำนวณก่อนที่จะแสดงออกไป
ั บบส รับประเ
ข้อเสนอตัวแบบที่จะเสนอนี้ตั้งอยู่บนฐานคิด 2 แบบ คือ แบบที่หนึ่ง การที่ยังคงมีการ
ออกแบบเชิงสถาบันกำหนดให้ ส.ส. ต้องสังกัดพรรคการเมืองอยู่ และแบบที่สอง การไม่กำหนด
สถานภาพการเป็นสมาชิก ซึ่งการเสนอตัวแบบนี้จะแตกต่างกันในข้อกำหนดตามฐานคิด
ด้วยเหตุผลว่า หากยังคงมีการกำหนดให้ ส.ส. ต้องมีคุณสมบัติการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
เท่ากับว่าผู้สมัครลงรับเลือกตั้งต้องมีพรรคต้นสังกัดก่อน แต่ตามข้อเสนอเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
การทำงานที่การศึกษานี้เสนอนั้นเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ ส.ส. มีการแสดงออกและพฤติกรรม
ที่อาจส่งผลลบขั้นรุนแรง คือ การถูกขับออกจากการเป็นสมาชิกพรรคดังนั้น การกำหนด
สถานภาพ ส.ส. ให้ต้องสังกัดพรรคการเมืองคงต้องมีข้อยกเว้นตามข้อเสนอนี้ แต่หากการ
กำหนดคุณสมบัติที่ยกเลิกการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองแล้วนั้นข้อเสนอตัวแบบนี้ก็จะดำเนินการ การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2
ได้โดยไม่ต้องมีข้อยกเว้นในส่วนของคุณสมบัติการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง