Page 247 - kpi17073
P. 247
246 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
เช่นนั้นแล้ว ตามข้อเสนอตัวแบบที่ 2.2 นี้ รายละเอียดของคุณสมบัติและข้อกำหนดสำหรับ
การลดข้อจำกัดในการลงสมัครรับเลือกตั้งมีดังนี้ คือ
(1) ต้องเป็น อดีต ส.ส. ที่สิ้นสภาพการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่เคยสังกัดเมื่อทำหน้าที่
ในสภาอยู่และตัดสินใจที่จะไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดในการเลือกตั้งครั้งต่อไป
ที่กำลังจะเกิดขึ้น 7
(2) ต้องยื่นแบบแสดงเจตจำนงในการลงรับสมัครต่อหน่วยงานที่จัดการการเลือกตั้ง
(3) ต้องยื่นบัญชีรายชื่อผู้สนับสนุนที่เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ที่ไม่ได้ถูกตัดสิทธิในการใช้สิทธิ
เลือกตั้ง) เป็นจำนวน ร้อยละ 5 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นๆ ซึ่ง
รายชื่อนี้จะต้องไม่ซ้ำกับผู้สมัครรายอื่นๆ ทั้งของพรรคการเมืองเดียวกันและ
พรรคการเมืองอื่น โดยเกณฑ์การกำหนดจำนวนรายชื่อขั้นต่ำไว้ที่ร้อยละ 5 นั้น
เป็นการกำหนดเกณฑ์เดียวกับเกณฑ์ขั้นต่ำการได้รับจำนวนที่นั่งในสภาในการเลือกตั้ง
ระบบบัญชีรายชื่อที่ได้เคยกำหนดไว้ ดังนั้น การที่ผู้สมัครสามารถรวบรวมรายชื่อได้
ในจำนวนนี้ก็เป็นการเทียบเคียงได้ว่ามีความสามารถและโอกาสที่จะลงแข่งขันในการ
เลือกตั้งและมีโอกาสในการที่จะได้รับชัยชนะได้ โดยไม่ใช่เป็นการลงรับสมัครเพื่อ
จุดประสงค์อื่น
(4) ต้องเสียค่าสมัครในจำนวนที่เท่ากับร้อยละ 10 ของฐานเงินเดือนทั้งหมดหนึ่งเดือน
ในฐานะ ส.ส. นั่นคือ หากเงินเดือนของ ส.ส. คือ 100,000 บาท ค่าสมัครรับเลือกตั้ง
ก็จะเป็น 10,000 บาท
(5) ต้องยื่นแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายที่ใช้ในการเลือกตั้ง แม้ผู้สมัครอาจจะไม่ได้รับการ
เลือกตั้ง
(6) ต้องไม่มีคุณสมบัติเป็นตัวแทนของพรรคการเมืองใดๆ ในการเลือกตั้งครั้งเดียวกัน
ตำแหน่งเดียวกัน
(7) ต้องไม่เคยไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งขั้นต้นให้กับพรรคการเมืองใดๆ ในการเลือกตั้ง
ขั้นต้น หรือในการประชุมใหญ่ของพรรค (Party Convention)
อย่างไรก็ดี การอนุโลมให้มีการลงสมัครรับเลือกตั้งแก่อดีต ส.ส. ที่เข้าข่ายคุณสมบัติตามที่
กำหนดข้างต้นนั้น ไม่ได้หมายความว่าอดีต ส.ส. คนนั้นหากได้รับการเลือกตั้งเข้าไปอีกสมัยจาก
การเลือกตั้งในครั้งนี้ จะสามารถมีสถานภาพการไม่สังกัดพรรคในระยะเวลาเพียงแค่สมัยการ
เลือกตั้งนั้นไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งครั้งใหม่เท่านั้น เพราะในการเลือกตั้งครั้งใหม่ ส.ส. คนนั้น
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2 หน้าที่ ส.ส. ในสมัยนั้น คือ
จะต้องมีพรรคการเมืองที่ตนสังกัด เท่ากับว่า ส.ส. คนนั้นมีทางเลือกอยู่ 2 ทาง ในระหว่างการทำ
สาเหตุของการตัดสินใจที่จะไม่สังกัดพรรคการเมืองอื่นเมื่อถูกขับออกจากพรรคการเมืองที่เคยสังกัดอาจจะมา
7
จากความแตกต่างของจุดยืนในด้านนโยบายและพื้นฐานแนวคิดทางการเมือง หรืออาจจะเกิดจากการที่ไม่สามารถหา
พรรคการเมืองพรรคใหม่สังกัดได้ในระยะเวลาที่กำหนด