Page 241 - kpi17073
P. 241

240     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                             ๏ ประเด็นการบริหารจัดการในรัฐสภาและเอกสิทธิ์ (Paliamentary Procedure and
                               Previlege Issues and Standing Orders)


                        3. เปิดโอกาสโดยการกำหนดในข้อบังคับการประชุมสภาให้มีการเปิดประเด็นอภิปราย
                           ในสภาเพื่อนำไปสู่การลงมติในเรื่องของการตัดสินใจในนโยบายทางเศรษฐกิจที่มี

                           ผลกระทบต่อพื้นที่ที่นโยบายทางเศรษฐกิจหนึ่งๆ อย่างร้ายแรง เช่น การกระทบต่อ
                           วิถีชีวิต สังคม และการดำเนินการทางเศรษฐกิจของคนในพื้นที่ โดยตัวอย่างของ

                           ประเด็นที่ว่านี้ ได้แก่ การสร้างเขื่อน การสร้างท่าเรือขนาดใหญ่ การกำหนดเขตพื้นที่
                           อุตสาหกรรม เป็นต้น


                       จะเห็นว่าขั้นตอนการนำเรื่องเพื่อเข้าพิจารณาให้มีการลงมติอย่างอิสระตามข้อเสนอนั้น
                  มีอยู่ 2 แบบด้วยกันคือ แบบที่หนึ่ง การบรรจุเป็นข้อบัญญัติในรัฐธรรมนูญดังที่เคยทำมา และ

                  แบบที่สอง คือ การกำหนดให้อยู่ในข้อบังคับการประชุมสภา ซึ่งในแบบที่สองนี้อาจจะต้องมีการ
                  ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญไว้ว่าใน พรบ. ประกอบ หรือข้อบังคับการประชุมนี้ จะต้องเพิ่มขั้นตอน
                  ในแบบที่สองนี้ไว้ ไม่สามารถละเลยได้


                   ั  บบ     : การเพ       การ  ้  า เป น  สระ ก  ส ส    านการ ั การการเล  ก ั

                       ด้วยสมมติฐานที่การศึกษานี้ได้ตั้งขึ้นและหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้พบมีอยู่ว่า เพราะระบบ

                  การบริหารภายในพรรคการเมืองที่มีลักษณะรวมศูนย์ทำให้การแสดงออกซึ่งพฤติกรรมในสภา
                  ผู้แทนราษฎรของ ส.ส. นั้นมีข้อจำกัดอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นการทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติทั้งการนำ

                  เสนอเข้าไปสู่การพิจารณาที่ ส.ส. ส่วนหนึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมใดๆ ในการทำหน้าที่ส่วนนี้เลย ในอีก
                  ด้านหนึ่งของการทำหน้าที่นิติบัญญัติคือการพิจารณาร่างกฎหมายและเรื่องพิจารณาต่างๆ นั้น
                  ส.ส. ก็กลายเป็นเพียงกลไกหนึ่งของพรรคที่ถูกควบคุมโดยศูนย์กลางการบริหารของพรรค เพราะ

                  ข้อมูลการลงมติของ ส.ส. แต่ละคนได้แสดงให้เห็นว่าเป็นการลงมตินั้นไปตามความต้องการของ
                  พรรคในการให้ความเห็นชอบในกระบวนการการออกกฎหมายเท่านั้น


                       ซึ่งเหตุผลประกอบของการมีระบบบริหารรวมศูนย์ของพรรคการเมืองในระบบรัฐสภานั้น

                  ส่วนหนึ่งก็คือ การมีระดับของ “ระเบียบวินัยของพรรค” (Party Discipline) ที่ต้องอยู่ในระดับสูง
                  แม้ในทางหนึ่งจะเป็นเหตุผลที่ส่งให้เกิดความเข้มแข็งของระบบ แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ลดความเป็น
                  ผู้แทนของประชาชนได้อีกเช่นเดียวกัน เพราะความเป็นอิสระในการทำหน้าที่ก็ลดลงไปในขณะ

                  เดียวกัน

                       ตัวแบบที่ 1 ที่ได้นำเสนอในก่อนหน้านี้ ได้เสนอให้มีการขยายขอบเขตของเรื่องที่สามารถ

                  ลงมติได้อย่างอิสระปราศจากอิทธิพลของพรรคการเมือง ซึ่งในส่วนหนึ่งก็น่าจะเห็นว่าสามารถเพิ่ม
                  ความเป็นอิสระให้ ส.ส. ได้ระดับหนึ่ง ในขณะเดียวกันข้อเสนออีกส่วนหนึ่งคือ การอนุญาตให้
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2   ส.ส. สามารถนำเรื่องเข้ามาหารือเพื่อเป็นประเด็นในการลงมติอย่างอิสระได้นั้น หาก ส.ส. ผู้ที่


                  นำเสนอได้กระทำการนี้ ถูกเพ่งเล่งจากพรรคว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนระเบียบของพรรค
                  แม้กฎหมายจะอนุญาตให้ทำได้ แต่พรรคอาจจะมองว่าการกระทำนั้นเป็นการกระทำที่ต้องถูก
   236   237   238   239   240   241   242   243   244   245   246