Page 161 - kpi17073
P. 161

160     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                               อนุกรรมการ พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.มอบหมาย
                               กระทำความผิดในข้อหา ”ปฏิบัติหน้าที่โดยขาดความเที่ยงธรรม กระทำความผิด

                               ฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ”

                                 ในทางปฏิบัติคณะกรรมการถูกตรวจสอบด้วยกระบวนการยุติธรรมทางอาญาใน

                               การใช้อำนาจหน้าที่ ซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
                               มีคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ อม.5/2552 และคดีหมายเลขแดงที่ อม.4/2553

                               โดยพิพากษาว่าไม่มีมูลความผิดทางอาญา พิพากษายกฟ้อง ส่วนคำพิพากษาคดี
                               หมายเลขแดงที่ อม.1/2548 พิพากษาว่าประธานและกรรมการ ป.ป.ช.รวม 9 คน
                               กระทำความผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175 มาตรา 83 ประกอบ

                               พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
                               พ.ศ.2542 มาตรา 125 ให้จำคุกจำเลยทั้ง 9 คน มีกำหนดคนละ 2 ปี แต่เห็นว่า

                               มีเหตุอันควรปรานี ให้รอการลงโทษมีกำหนด 2 ปี

                       (4) การตรวจสอบการใช้อำนาจของ ก.ก.ต. และคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยศาล

                  รัฐธรรมนูญและศาลปกครอง


                         (4.1) ก.ก.ต.


                                 ก.ก.ต.ถูกตรวจสอบการใช้อำนาจหน้าที่โดยศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ
                               วินิจฉัยชี้ขาดการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีปัญหาพิพาทสำคัญ
                               ว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของ

                               คณะกรรมการการเลือกตั้งนั้นเป็นไปโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายหรือไม่
                               โดยมีคำวินิจฉัยที่ 9/2554 วินิจฉัยชี้ขาดว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

                               เป็นการทั่วไปเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นการเลือกตั้งที่มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
                               มาตรา 2 มาตรา 3 มาตรา 104 วรรคสาม และมาตรา 144 ซึ่งได้วางหลักการว่า
                               ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจตรวจสอบการใช้อำนาจหน้าที่ของ ก.ก.ต. เนื่องจากการ

                               ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้ง รวมถึงการสืบสวนสอบสวน
                               วินิจฉัยชี้ขาดข้อโต้แย้งตามกฎหมายของ ก.ก.ต.นั้น เป็นการใช้อำนาจรัฐตามที่

                               รัฐธรรมนูญกำหนด ดังนั้น เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นจากการใช้อำนาจจัดการเลือกตั้งก็
                               ย่อมต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบขององค์กรตุลาการ ที่กล่าวอ้างว่าการใช้อำนาจ
                               ตามรัฐธรรมนูญของก.ก.ต. เป็นที่ยุตินั้น มีความหมายว่าเป็นที่ยุติโดยองค์กรอื่น

                               ต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าเป็นที่ยุติโดยไม่ต้อง
                               ถูกตรวจสอบ เพราะ ก.ก.ต.ไม่ได้เป็นองค์กรที่รัฐธรรมนูญมอบหมายให้ใช้อำนาจ

                               ตุลาการตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1        ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญยืนยันอำนาจตรวจสอบการใช้อำนาจหน้าที่ของ ก.ก.ต.



                               อีกครั้ง ตามคำวินิจฉัยที่ 5/2557 วินิจฉัยชี้ขาดว่าพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทน
                               ราษฎร พ.ศ.2556 เฉพาะในส่วนที่กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165   166