Page 165 - kpi17073
P. 165

164     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  ซึ่งกันและกันตามกลไกระบบรัฐสภาไว้เช่นเดิม ด้วยเป็นการตรวจสอบและความรับผิดชอบ
                  ทางการเมืองที่ต่างฝ่ายต่างต้องมีต่อกันและมีต่อประชาชนและสังคมโดยรวม


                       แต่อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องเสริมกลไกการตรวจสอบทางกฎหมายให้มีความเข้มแข็งมาก
                  ยิ่งขึ้น เพื่อพิสูจน์ผิดถูกจากพยานหลักฐานตามกฎหมายด้วยกระบวนการที่ได้รับการยอมรับและ

                  เชื่อมั่นจากสังคม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความชอบธรรมในการมีและใช้อำนาจขององค์กร
                  ในโครงสร้างอำนาจรัฐ ซึ่งหมายถึงองค์กรในระบบรัฐสภาแบบดั้งเดิมและองค์กรอิสระซึ่งเป็น

                  องค์กรผู้ใช้อำนาจตรวจสอบทั้งหลายด้วย กล่าวคือ ความเชื่อมั่นและความชอบธรรมในการตรวจสอบ
                  การเข้าสู่อำนาจรัฐโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง รวมถึงการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
                  โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะเกิดขึ้นได้ต้องมีการกำหนดโครงสร้างที่มา และจัดวางความสัมพันธ์

                  เชิงอำนาจหรือดุลยภาพที่เหมาะสมระหว่างองค์กรในโครงสร้างอำนาจรัฐทั้งหมดและประชาชน


                       กล่าวโดยสรุป การจัดให้มีองค์กรอิสระใช้อำนาจในการตรวจสอบด้านต่างๆ ไว้ใน
                  รัฐธรรมนูญมิได้ขัดหรือแย้งกับหลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 ส่วนแต่อย่างใด
                  อีกทั้งในแนวทางหรือวิธีการปฏิรูปทางการเมืองการปกครองก็ยึดหลักการปกครองด้วยกฎหมาย

                  หรือนิติรัฐ โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด กำหนดกรอบอำนาจหน้าที่ขององค์กรใน
                  โครงสร้างอำนาจรัฐตามหลักการทำหน้าที่ของแต่ละองค์กร ในขณะเดียวกันกำหนดให้มีการ

                  ตรวจสอบการใช้อำนาจในทุกมิติ อันเป็นการตรวจสอบในเนื้อหาสาระของการใช้อำนาจเป็นหลัก
                  ซึ่งในส่วนของโครงสร้าง ที่มา องค์ประกอบ รวมถึงอำนาจหน้าที่ของ ก.ก.ต.และคณะกรรมการ
                  ป.ป.ช. โดยภาพรวมเป็นไปตามหลักการแบ่งแยกหน้าที่ตามความเชี่ยวชาญเฉพาะ เพื่อให้เป็น

                  กลไกเสริมในส่วนที่เป็นปัญหาซึ่งต้องการปฏิรูป เป็นการมอบอำนาจที่เหมาะสมและได้สัดส่วน
                  ตามความจำเป็นของบริบทสังคม อีกทั้งได้ดุลยภาพกับการถูกตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจ

                  โดยองค์กรอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม หลักประกันความเป็นอิสระและเป็นกลางที่สอดคล้องกับ
                  เจตนารมณ์ในการจัดตั้งนั้น จำเป็นต้องพิสูจน์ให้สังคมรับรู้ได้ถึงความมีอยู่จริงและประโยชน์ที่จะ
                  เกิดกับสังคมโดยรวม หรือการแสดงบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อำนวย

                  ความยุติธรรมแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องได้อย่างแท้จริง มิใช่เบี่ยงเบนไปสู่ผลประโยชน์และการหลุดพ้นจาก
                  การตรวจสอบและความรับผิดชอบในผลการใช้อำนาจหน้าที่


                       ในการปฏิรูปประเทศครั้งนี้ วาระเร่งด่วนแห่งชาติคือการทบทวนความจำเป็นและความ
                  คุ้มค่าของการมีองค์กรอิสระ รวมถึงมาตรการเพื่อให้องค์กรอิสระดำเนินงานได้อย่างมี

                  ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ด้วยส่วนหนึ่งเกิดจากการที่องค์กรอิสระไม่สามารถพิสูจน์ผลงาน
                  ในเชิงประจักษ์ชัด ซึ่งได้รับการยอมรับและความเชื่อมั่นจากสังคมโดยรวมได้ ดังนั้น การพิสูจน์ให้

                  เห็นถึงคุณค่าและคุณประโยชน์ของการมีองค์กรอิสระเพื่อการบริหารจัดการและตรวจสอบการ
                  เลือกตั้ง และการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในโครงสร้างอำนาจรัฐของไทย เป็นสิ่งที่ต้อง
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1   ป.ป.ช.กับองค์กรในโครงสร้างอำนาจรัฐทั้งหลาย ควรดำเนินการตามหลักการและแนวทางดังนี้
                  ดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว ทั้งนี้ การสร้างดุลยภาพระหว่าง ก.ก.ต.และคณะกรรมการ
   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170