Page 166 - kpi17073
P. 166

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   165


                            ประการแรก เสริมสร้างความชอบธรรมในการมีและใช้อำนาจด้วยการปรับปรุงโครงสร้าง
                      ที่มา และกระบวนการสรรหาและแต่งตั้ง ก.ก.ต. และคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้เปิดกว้าง

                      โปร่งใส และเชื่อมโยงกับผู้แทนปวงชนชาวไทย ภายใต้หลักการตรวจสอบและถ่วงดุลซึ่งกันและ
                      กัน  ซึ่งมีผลในการธำรงรักษาความเป็นอิสระ เป็นกลาง การไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย และความรับ
                      ผิดชอบในอำนาจหน้าที่ตามความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน


                              - เพิ่มการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ลดบทบาทของฝ่ายตุลาการในชั้นคณะกรรมการ

                                สรรหา และเพิ่มบทบาทของฝ่ายนิติบัญญัติในชั้นพิจารณาให้ความเห็นชอบและแต่งตั้ง
                                โดยรัฐสภา จากการเสนอบัญชีรายชื่อจำนวน 2 เท่าของคณะกรรมการสรรหา ซึ่งมี
                                คณะกรรมาธิการตรวจสอบประวัติและความประพฤติทำหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ

                                ด้านความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ รวมถึงคุณลักษณะสำคัญต่อการทำหน้าที่ใน
                                ฐานะองค์กรอิสระ คือ ความเป็นอิสระและเป็นกลาง และความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่

                                ประจักษ์

                             - เพิ่มการมีส่วนร่วมจากประชาชนในการติดตามตรวจสอบและให้ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

                                ที่ได้รับการสรรหาและแต่งตั้ง


                             - เพิ่มความน่าเชื่อถือของฝ่ายตุลาการในการใช้อำนาจชี้ขาดสุดท้ายเมื่อมีกรณีพิพาท
                                หรือโต้แย้งในการตรวจสอบการเลือกตั้งและการตรวจสอบการทุจริตด้วยกระบวนการ
                                ยุติธรรมทั้งหลาย


                            ทั้งนี้ รายละเอียดดังแนวทางที่นำเสนอไว้ในหัวข้อที่ 2.


                            ประการที่สอง แนวทางการปรับบทบาทอำนาจหน้าที่เพื่อให้องค์กรในโครงสร้างอำนาจรัฐ
                      มีอำนาจเฉพาะด้านเฉพาะทาง โดยให้ฝ่ายตุลาการเป็นองค์กรชี้ขาดข้อพิพาทสุดท้ายเกี่ยวกับการ

                      เลือกตั้งและการตรวจสอบด้านการทุจริต  ก.ก.ต.มีบทบาทหลักในการจัดการเลือกตั้งและการ
                      ออกเสียงประชามติส่วนคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีบทบาทหลักในการตรวจสอบโดยการไต่สวน

                      รวบรวมพยานหลักฐาน และสรุปสำนวนเพื่อเสนอต่อองค์กรที่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดสุดท้าย ทั้งนี้
                      เพื่อหลักประกันการใช้อำนาจโดยมิชอบ และให้มีการตรวจสอบและถ่วงดุลในการใช้อำนาจรัฐ


                            ในการนี้ มีข้อเสนอเป็น 2 แนวทางเลือก สำหรับปรับบทบาทอำนาจหน้าที่ของ ก.ก.ต.
                      ดังนำเสนอไว้ในหัวข้อที่ 3.


                            ประการที่สาม แม้ว่า ก.ก.ต. และคณะกรรมการ ป.ป.ช.จะอยู่ภายใต้ระบบการตรวจสอบ
                      การใช้อำนาจดังนำเสนอไว้ในหัวข้อที่ 4. แต่เพื่อสร้างความชอบธรรมในการมีและใช้อำนาจ

                      ควรเพิ่มความโปร่งใสและตรวจสอบได้ รวมถึงความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม ดังนี้


                             - กำหนดให้มีการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของ ก.ก.ต. และคณะกรรมการ
                                ป.ป.ช. เพื่อให้สาธารณะมีส่วนร่วมในการตรวจสอบเช่นเดียวกับนายกรัฐมนตรี                     การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1

                                รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา
   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171