Page 164 - kpi17073
P. 164

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   163


                      บทสรุปและเสนอแนะ



                            การปฏิรูปทางการเมืองการปกครองของไทยในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา เป็นส่วนหนึ่งของ
                      กระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย (Democratization) ซึ่งดำเนินไปตามแนวทางตามลัทธิ

                      รัฐธรรมนูญนิยม (Constitutionalism) ซึ่งยอมรับว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน โดย
                      มอบหมายให้ผู้แทนใช้อำนาจรัฐแทน ภายใต้การแบ่งแยกองค์กรผู้ใช้อำนาจและจำกัดขอบเขตแห่ง
                      อำนาจ อีกทั้งการใช้อำนาจรัฐทั้งหลายต้องอยู่ภายในกรอบของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย รวมถึง

                      มีการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในทุกแง่มุม ตามหลักการของนิติรัฐ (The Rule of Law) หรือ
                      รัฐที่ปกครองด้วยกฎหมาย


                            วิธีการที่ใช้เพื่อการปฏิรูปการเมืองการปกครองคือใช้กฎหมายสูงสุดคือรัฐธรรมนูญกำหนด
                      กติกาทางการเมืองการปกครอง ให้มีองค์กรอิสระเป็นกลไกหลักในระบบการตรวจสอบการใช้

                      อำนาจรัฐ ซึ่งมุ่งเน้นตรวจสอบตั้งแต่ด่านแรกก่อนเข้าสู่อำนาจรัฐคือการตรวจสอบเพื่อความสุจริต
                      โปร่งใส เป็นธรรมในการเลือกตั้ง และการตรวจสอบเมื่อเข้าสู่ตำแหน่งและมีอำนาจรัฐแล้ว วิธีการ

                      ปฏิรูปทางการเมือง การปกครองเช่นนี้สอดคล้องกับนานาประเทศที่อยู่ระหว่างกระบวนการพัฒนา
                      ประชาธิปไตย ซึ่งมีปัญหาคล้ายคลึงกับไทยคือการเข้าสู่อำนาจโดยมิชอบและมีการผูกขาดและมี
                      การใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบ โดยที่องค์กรในโครงสร้างอำนาจรัฐดั้งเดิมไม่อาจแก้ไขปัญหาอุปสรรค

                      ที่เกิดขึ้นได้ในตัวเอง จึงจำเป็นต้องกำหนดให้มีกลไกหรือองค์กรเสริมเข้าในในโครงสร้างอำนาจรัฐ
                      ในลักษณะเป็นองค์กรเชี่ยวชาญหรือองค์กรตรวจสอบเฉพาะด้าน ในที่นี้คือองค์กรอิสระ เพื่อ

                      ป้องกันแก้ไขปัญหาในจุดที่มีผลบั่นทอนต่อเสถียรภาพและประสิทธิภาพองค์กรในระบอบ
                      ประชาธิปไตย


                            ในขณะเดียวกันต้องวางระบบเพื่อมิให้องค์กรใหม่ที่จัดตั้งขึ้นนี้ มีปัญหาในการใช้อำนาจ
                      โดยมิชอบเสียเอง ดังนั้น ระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจที่ครอบคลุมไปถึงการใช้อำนาจของ

                      องค์กรอิสระทั้งหลายด้วย จึงเป็นสิ่งจำเป็นและไม่อาจละเลยได้ การใช้อำนาจเพื่อยับยั้งอำนาจ
                      และป้องกันการใช้อำนาจโดยมิชอบจึงเป็นแนวทางหลักในกระบวนการปฏิรูปทางการเมืองไทย
                      ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนจากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่กำหนดกฎเกณฑ์ กระบวนการตรวจสอบ

                      การใช้อำนาจขององค์กรอิสระไว้ ซึ่งในทางปฏิบัติมีการเสนอให้ตรวจสอบและมีการลงโทษกรณีที่
                      ก.ก.ต. และคณะกรรมการ ป.ป.ช.กระทำความผิดเกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่ ดังนำเสนอไว้ใน

                      หัวข้อที่ 4.


                            การสถาปนาองค์กรอิสระไว้ในโครงสร้างอำนาจรัฐของไทย เป็นการจัดองค์กรบริหารของรัฐ
                      ด้วยการสร้างกลไกอันเป็นโครงสร้างพื้นฐาน (infra –structure) ด้วยการกำหนดเป็นกติกาสูงสุด
                      ทางการเมืองการปกครอง ซึ่งมิได้กระทบถึงหลักการและเนื้อหาสาระในการปกครองระบบรัฐสภา

                      ของไทยแต่อย่างใด เพราะแนวทางที่ใช้มีเป้าหมายหลักคือการพัฒนาระบบรัฐสภาดั้งเดิมให้เป็น
                      ระบบรัฐสภาที่มีเหตุมีผล (Rationalize Parliamentary System) กล่าวคือ คงหลักความสัมพันธ์

                      และความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารต่อฝ่ายนิติบัญญัติ รวมถึงคงหลักการถ่วงดุลและตรวจสอบ                   การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1
   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169