Page 162 - kpi17073
P. 162
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 161
ราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 มิได้จัดการให้เป็นการ
เลือกตั้งวันเดียวทั่วราชอาณาจักร จึงเป็นการไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 108
วรรคสอง
นอกจากนี้ การใช้อำนาจหน้าที่ของ ก.ก.ต.ยังอยู่ภายใต้การตรวจสอบโดยศาล
ปกครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกกฎ ระเบียบ คำสั่งซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้
ศาลปกครองมีอำนาจตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎ ระเบียบ หรือคำ
สั่งทางปกครองดังกล่าว ทั้งนี้ เมื่อ ก.ก.ต.ใช้อำนาจทางปกครองในการดังกล่าว
จึงต้องถูกตรวจสอบโดยศาลปกครองเช่นเดียวกับหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ซึ่ง
ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยชี้ขาดให้เพิกถอนระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดและผู้อำนวยการการเลือกตั้ง
ประจำจังหวัด พ.ศ.2541 ข้อ 12 (13) ที่กำหนดลักษณะต้องห้ามมิให้ผู้ฟ้องได้รับ
การเสนอชื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด เนื่องจากการใช้อำนาจ
ของคณะกรรมการการเลือกตั้งผู้ถูกฟ้องเป็นการใช้อำนาจทางปกครองย่อมอยู่
ภายใต้การตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายโดยศาลปกครอง (คำพิพากษา
ศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.88/2549) ต่อมาศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้ระงับการ
เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งตามประกาศของคณะ
กรรมการการเลือกตั้ง รวม 9 จังหวัด 14 เขตเลือกตั้ง และศาลปกครองสูงสุด
มีคำสั่งที่ 196/2549 มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองกลาง (คำพิพากษา
ศาลปกครองกลางที่ 617,620/2549) ยิ่งไปกว่านั้น ศาลปกครองมีคำพิพากษาให้
เพิกถอนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 2
เมษายน 2549 ทั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อทั้งหมดในทุกเขต
เลือกตั้ง และเพิกถอนการกระทำต่อมาภายหลังอันเป็นผลสืบเนื่องจากการเลือกตั้ง
ทั่วไปดังกล่าวด้วย เนื่องจากการมีมติให้ปรับแผนผังที่เลือกตั้ง โดยจัดเรียงคูหา
เลือกตั้งจากเดิมที่ให้ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งหันหลังให้ผนังหรือฉากกั้นที่เลือกตั้งมาเป็นให้
หันหน้าไปทางผนังหรือฉากกั้น เป็นการกระทำที่ทำให้การออกเสียงลงคะแนน
ไม่เป็นไปโดยลับ ทำให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 2 เมษายน
2549 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 104 วรรคสาม
ทั้งนี้ ศาลปกครองวางหลักเกี่ยวกับเขตอำนาจของศาลปกครองในการตรวจสอบ
การใช้อำนาจออกกฎและบังคับใช้กฎหมายและกฎโดยการออกคำสั่ง มีมติ หรือ
กระทำการอื่นใดนอกจากการออกคำสั่งและมีมติ ย่อมเป็นการใช้อำนาจทาง
ปกครอง เมื่อคำนึงถึงลักษณะของการใช้อำนาจจึงต้องถือว่าคณะกรรมการการ
เลือกตั้งผู้ถูกฟ้องคดีเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา 3
แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542
และคดีพิพาทเกี่ยวกับการใช้อำนาจดังกล่าวเป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณา
พิพากษาของศาลปกครอง (คำพิพากษาศาลปกครองกลางที่ 607-608/2549) การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1