Page 158 - kpi17073
P. 158
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 157
ทางอาญา ซึ่งทั่วไปใช้กับประชาชนซึ่งไม่ได้เป็นผู้มีอำนาจรัฐดังเช่นผู้ดำรงตำแหน่ง
ทางการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงทั้งหลาย
- อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.มิใช่อำนาจหน้าที่ในลักษณะเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
หรือผลการพิจารณาเป็นที่สุด เป็นแต่เพียงอำนาจไต่สวนข้อเท็จจริง รวบรวมพยาน
หลักฐานและจัดทำรายงานสรุปความเห็นเสนอต่อองค์กรที่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดต่อไป
ซึ่งกรณีเป็นการตรวจสอบด้วยกระบวนการยุติธรรม องค์กรศาลซึ่งเป็นองค์กรฝ่าย
ตุลาการจะมีอำนาจในการชี้ขาดสุดท้าย แต่หากเป็นการตรวจสอบทางการเมืองวุฒิสภา
เป็นองค์กรชี้ขาดสุดท้ายว่าจะให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งหรือไม่
ทั้งนี้ การใช้อำนาจตรวจสอบดังกล่าวของคณะกรรมการ ป.ป.ช.นั้น ต้องมีการริเริ่ม
เสนอโดยกลุ่มบุคคลตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายกำหนด เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
สมาชิกวุฒิสภา ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือผู้เสียหาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการ
ป.ป.ช.เป็นองค์กรตรวจสอบในช่วงกลางของกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เพราะอำนาจ
หน้าที่ในการริเริ่มเสนอเรื่อง และการวินิจฉัยชี้ขาดนั้นเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรอื่นๆ นับเป็น
กระบวนการที่ออกแบบให้มีการตรวจสอบและถ่วงดุลกันในระดับหนึ่งแล้ว
- รายงานการไต่สวนและสรุปความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังมีขั้นตอนการ
ตรวจสอบและถ่วงดุลหรือคานอำนาจดุลพินิจโดยอัยการสูงสุด และหรือคณะทำงานร่วม
ระหว่างผู้แทนจากคณะกรรมการ ป.ป.ช.และอัยการสูงสุด
4. การตรวจสอบการใช้อำนาจของ ก.ก.ต.
และคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ภายใต้ระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจโดยรวม ซึ่งด้านหนึ่งกำหนดอำนาจหน้าที่ให้
ก.ก.ต. และคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐดังนำเสนอมาแล้ว
ข้างต้น แต่อีกด้านหนึ่งถือว่าทั้งสององค์กรเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐด้วยเช่นกัน ดังนั้น
รัฐธรรมนูญและกฎหมายกำหนดให้ต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบ ดังนี้
(1) การยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบของตน คู่สมรส และบุตรที่ยัง
ไม่บรรลุนิติภาวะ รวมถึงทรัพย์สินที่มอบหมายให้อยู่ในความครอบครองหรือดูแลของบุคคลอื่น
ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม อย่างไรก็ตาม เพื่อความโปร่งใสและเป็นมาตรฐานเดียวกันกับ
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ควรกำหนดให้มีการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของ ก.ก.ต.
และ ป.ป.ช.ต่อสาธารณะเช่นเดียวกันด้วย
(2) การถูกตรวจสอบและถอดถอนออกจากตำแหน่งเช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งทาง
การเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูงอื่นๆ ทั้งนี้ ด้วยข้อกล่าวหาสำหรับ ก.ก.ต. คือ “มีพฤติการณ์
ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่า การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1