Page 154 - kpi17073
P. 154
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 153
1 บ บา นา น้า ก ก
โดยภาพรวมรัฐธรรมนูญและกฎหมายกำหนดให้ ก.ก.ต.มีบทบาทอำนาจหน้าที่หลัก
ในการควบคุม ดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น คือการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การเลือกตั้งและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา การเลือกตั้งผู้บริหารและ
สมาชิกสภาท้องถิ่น การจัดการและควบคุมการออกเสียงประชามติ ซึ่งอำนาจหน้าที่ส่วนนี้รวมถึง
การบริหารจัดการให้การเลือกตั้งบรรลุผลสำเร็จ การใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง การรณรงค์หาเสียง
เลือกตั้งของผู้สมัครและพรรคการเมือง การใช้จ่ายเงินในการเลือกตั้ง การนับคะแนนเสียงเลือกตั้ง
การพิจารณาคำร้องเรียนหรือร้องคัดค้านการเลือกตั้ง การสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือการ
ออกเสียงประชามติใหม่ และการประกาศผลการเลือกตั้งด้วย
นอกจากนี้ ก.ก.ต. มีอำนาจหน้าที่ควบคุมตรวจสอบเกี่ยวกับพรรคการเมือง เริ่มตั้งแต่
การรับจดทะเบียนพรรคการเมือง การตรวจสอบการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองและการ
พิจารณาจัดสรรเงินอุดหนุนหรือการสนับสนุนอื่นๆ แก่พรรคการเมือง รวมถึงกำหนดมาตรการ
เกี่ยวกับการเงินและการตรวจสอบทางการเงินและบัญชีของพรรคการเมือง
ในการนี้ ก.ก.ต.มีอำนาจออกประกาศ หรือวางระเบียบอันจำเป็นแก่การปฏิบัติตาม
กฎหมาย รวมถึงการให้การศึกษาด้านการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา-
กษัตริย์ทรงเป็นประมุข และส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
อำนาจหน้าที่หลักที่สำคัญคือการสืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาด
ปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นตามกฎหมาย กรณีมีผู้สมัครรับเลือกตั้งกระทำการหรือสนับสนุนให้
มีการกระทำฝ่าฝืนกฎหมายหรือกฎระเบียบ ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและ
เที่ยงธรรม เพื่อนำไปสู่การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง และหรือยุบพรรคการเมืองโดยศาลรัฐธรรมนูญ
ต่อไป
อำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ (“ใบ
เหลือง”) หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง (“ใบแดง”) ซึ่งหากเกิดขึ้นก่อนการประกาศผลการเลือกตั้ง
แล้ว คำสั่งของ ก.ก.ต.เป็นที่สุด แต่ถ้าเกิดขึ้นหลังการประกาศผลการเลือกตั้ง ให้สามารถยื่น
คำร้องต่อศาลฎีกา เพื่อวินิจฉัยชี้ขาดกรณีเป็นการเลือกตั้งระดับชาติ หรือศาลอุทธรณ์กรณี
เป็นการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น
ประเด็นวิพากษ์วิจารณ์สำคัญคือ ก.ก.ต.มีอำนาจหน้าที่ที่เข้าข่ายการใช้อำนาจ
นิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการหรืออำนาจกึ่งตุลาการในองค์กรเดียวกัน ซึ่งไม่
สอดคล้องกับหลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย เพราะมีการรวมศูนย์อำนาจทั้งการออกกฎเกณฑ์
การปฏิบัติ การดำเนินการตามกฎเกณฑ์ และการวินิจฉัยชี้ขาดหรือตัดสินเมื่อมีข้อโต้แย้งหรือ
พิพาทเกี่ยวกับกฎเกณฑ์หรือการดำเนินการตามกฎเกณฑ์ดังกล่าว ซึ่งมีผลต่อหลักความเป็นอิสระ
เป็นกลาง และการไม่มีส่วนได้เสียโดยตรงอย่างปฏิเสธไม่ได้ การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1