Page 157 - kpi17073
P. 157
156 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
(4) ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนเพื่อดำเนินคดีอาญากรณีมีการขัดกันระหว่าง
ผลประโยชน์ส่วนบุคคลและส่วนรวม (Conflict of Interest)
(5) กำกับดูแลคุณธรรมจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หากผู้ดำรง
ตำแหน่งทางการเมืองฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมที่เป็นการกระทำผิดร้ายแรง
คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีอำนาจไต่สวนและเสนอรายงานต่อวุฒิสภาเพื่อพิจารณาถอดถอนออกจาก
ตำแหน่งได้
(6) ไต่สวนหรือสอบสวนข้อเท็จจริงและสรุปรายงานการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม
กฎหมาย ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ กฎหมายว่าด้วยการ
จัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี และกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อ
หน่วยงานของรัฐ
กล่าวโดยสรุป คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นองค์กรที่มีอำนาจตรวจสอบโดยการไต่สวน
ข้อเท็จจริงและสรุปรายงานหรือสำนวนการตรวจสอบดังกล่าว เสนอเข้าสู่การวินิจฉัยชี้ขาดโดย
องค์กรที่มีอำนาจในระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ซึ่งมีทั้งการตรวจสอบในระบบรัฐสภา
การตรวจสอบด้วยกระบวนการยุติธรรม และการตรวจสอบทางจริยธรรมและจรรยาบรรณ
โดยที่อำนาจในการตรวจสอบของคณะกรรมการ ป.ป.ช.นั้น คลอบคลุมผู้ใช้อำนาจรัฐ ได้แก่
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา
ข้าราชการการเมืองอื่น ผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น) และเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงในสังกัดของ
ฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ รวมไปถึงองค์กรตรวจสอบอิสระอื่นๆ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง หรือข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไป
หรือกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือข้าราชการในระดับต่ำกว่าที่ร่วมกระทำความผิดกับผู้ดำรงตำแหน่ง
ดังกล่าว หรือกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
แม้ว่ารัฐธรรมนูญและกฎหมายกำหนดอำนาจหน้าที่ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.เข้าไปมีอำนาจ
หน้าที่ตรวจสอบหลากหลายประการ อีกทั้งมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบผู้ใช้อำนาจรัฐระดับสูงที่อยู่ใน
ฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ รวมถึงองค์กรอิสระอื่นๆ แต่เมื่อพิจารณาในเนื้อหาสาระ
ทั้งหมดแล้ว พบว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจหน้าที่ที่เหมาะสมและได้สัดส่วนตามหลักการ
สากลและความจำเป็นของบริบทสังคม มีตรรกะและเหตุผล โดยไม่ขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ
อธิปไตย อีกทั้งมีการตรวจสอบและถ่วงดุลและเชื่อมโยงกับระบบการทำงานกับองค์กรอัยการด้วย
ทั้งนี้ด้วยเหตุผลสนับสนุนดังนี้
- เจตนารมณ์แห่งการปฏิรูปการเมืองการปกครอง โดยการปฏิรูประบบตรวจสอบการใช้
อำนาจรัฐ ซึ่งจำเป็นต้องมีกลไกการไต่สวนข้อเท็จจริงที่เป็นอิสระ เป็นกลาง และมี
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1 ลงโทษผู้ใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบ ภายใต้ระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยรวม
ศักยภาพในการไต่สวนข้อเท็จจริง รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดและ
ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขจุดอ่อนในระบบการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง ในกระบวนการยุติธรรม