Page 160 - kpi17073
P. 160
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 159
ประชามติให้เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม โดยพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดห้ามกรรมการการเลือกตั้ง
กรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด และ
อนุกรรมการ กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่เพื่อเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัคร
หรือพรรคการเมือง หรือกระทำการหรือละเว้นกระทำการโดยทุจริตหรือประพฤติมิ
ชอบในการปฏิบัติหน้าที่ หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุก ปรับ และถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
มีกำหนดถึง 10 ปี แต่ในทางกลับกันหากกระทำการตามหน้าที่โดยสุจริตกำหนดให้
ได้รับความคุ้มครอง ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครอง
ในทางปฏิบัติ ก.ก.ต.ถูกตรวจสอบความเป็นอิสระและเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่
โดยที่ศาลอาญาและศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้จำคุกกรรมการการเลือกตั้ง
คนละ 4 ปี โดยไม่รอลงอาญา และให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 10 ปี
เนื่องจากปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการจัดการเลือกตั้งใหม่ รอบ 2 เมื่อวันที่ 23
เมษายน 2549 โดยเปิดรับสมัครใหม่โดยไม่มีอำนาจ และอนุญาตให้ผู้สมัครราย
เดิมเวียนเทียนลงสมัครข้ามเขตได้ เป็นการช่วยให้ผู้สมัครพรรคไทยรักไทยมีคู่แข่ง
เพื่อเลี่ยงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของ
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น แม้ว่าในที่สุดแล้วศาลฎีกาพิพากษา
ยกฟ้อง เนื่องจากโจทก์ไม่ใช่ “ผู้เสียหายโดยตรง” เพราะมิใช่ผู้สมัครหรือ
พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งดังกล่าว จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ถือไม่ได้ว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งได้กระทำการที่เป็นความผิดต่อโจทย์ หาก
การกระทำของจำเลยเป็นความผิด ก็ต้องถือว่าเป็นการกระทำความผิดต่อรัฐ ไม่ใช่
กระทำผิดต่อโจทย์ (คำพิพากษาศาลฎีกา คดีหมายเลขดำ อ.1234/2549)
(3.2) คณะกรรมการ ป.ป.ช.
รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีการตรวจสอบคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยการเข้าชื่อของ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภา จำนวน
ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา เสนอต่อ
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วยข้อกล่าวหาว่า “ผู้ใด
ร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อ
ตำแหน่งหน้าที่ราชการ”
นอกจากนี้ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม
การทุจริตกำหนดให้ประธานกรรมการและกรรมการ ป.ป.ช. เป็น “เจ้าพนักงานใน
การยุติธรรมตามกฎหมาย” ซึ่งมีผลทำให้ต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบและมีความ
ผิดทางอาญาตามที่กำหนดในประมวลกฎหมายอาญา ในส่วน“ความผิดต่อหน้าที่ใน
การยุติธรรม” ยิ่งกว่านั้น กำหนดให้ต้องระวางโทษสองเท่าของโทษที่กฎหมาย
กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น หากประธานกรรมการและกรรมการ ป.ป.ช. รวมถึง การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1