Page 156 - kpi17073
P. 156

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   155


                      อำนาจของศาลฎีกา (ซึ่งมีศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งรับผิดชอบคดีดังกล่าวอยู่แล้ว) ส่วนคดีเลือกตั้ง
                      ระดับท้องถิ่นให้อยู่ในขอบอำนาจของศาลอุทธรณ์ (ซึ่งมีกระจายอยู่ทั่วประเทศ คือ ศาลอุทธรณ์

                      และศาลอุทธรณ์ภาค 1 – ศาลอุทธรณ์ภาค 9) ทั้งนี้ โดยมี ก.ก.ต.ไต่สวนและสรุปสำนวนเสนอ
                      เข้าสู่การพิจารณาของศาลดังกล่าว


                                ทางเลือกที่ 2 ก.ก.ต.มีอำนาจหน้าที่เฉพาะการควบคุมตรวจสอบและวินิจฉัย
                      ชี้ขาดเกี่ยวกับการเลือกตั้งทุกระดับและการออกเสียงประชามติ โดยกำหนดให้การบริหาร

                      จัดการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรหรือหน่วยงานภาครัฐอื่น
                      และด้วยเหตุผลความจำเป็นเช่นเดียวกัน องค์กรหรือหน่วยงานดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ในการ
                      กำหนดกฎเกณฑ์ ระเบียบหรือกติกาเกี่ยวกับการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติ ภายใน

                      กรอบของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย


                               แนวทางเลือกนี้ เป็นการพัฒนา ก.ก.ต.ให้เป็นศาลเลือกตั้ง หรือศาลชำนาญการ
                      พิเศษด้านการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติ ซึ่งต้องมีกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ
                      เป็นการเฉพาะ เพื่อทำให้กระบวนวิธีพิจารณาความเป็นไปโดยรวดเร็ว และมีหลักประกันความ

                      ยุติธรรมของคู่กรณีอย่างเพียงพอ


                               ประเด็นท้าทายสำคัญสำหรับแนวทางเลือกที่ 2 คือ องค์กรหรือหน่วยงานที่มี
                      อำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติ? ควรเป็นองค์กรหรือ
                      หน่วยงานของรัฐที่มีอยู่แล้ว ซึ่งมีศักยภาพและทรัพยากรที่เชี่ยวชาญ เหมาะสม ซึ่งจำเป็นต้อง

                      เสริมมาตรการเพื่อหลักประกันในความเป็นอิสระและเป็นกลาง เพื่อให้ปลอดจากการแทรกแซง
                      หรือคลอบงำจากฝ่ายใดๆ  รวมถึงอำนาจหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวกับพรรคการเมืองควรเป็นอำนาจ

                      หน้าที่ของหน่วยงานใด ซึ่งนับว่าเป็นบทบาทอำนาจหน้าที่ที่สำคัญส่วนหนึ่งในกระบวนการพัฒนา
                      ประชาธิปไตย เพราะพรรคการเมืองจำต้องพัฒนาให้เป็นสถาบันทางการเมืองที่ดำเนินตามวิถีทาง
                      ประชาธิปไตย ภายใต้การแข่งขันทางการเมืองที่เสรี เป็นธรรม


                                บ บา   นา  น้า        ะกรร การ ป ป


                              รัฐธรรมนูญและกฎหมายกำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

                              (1) ตรวจสอบการแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและ

                      เจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึงตรวจสอบความรัฐร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ และ
                      ร้องขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือศาลอื่นซึ่งมีเขตอำนาจ
                      วินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับการยื่นบัญชีทรัพย์สินฯ และ มีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน


                              (2) ไต่สวนข้อเท็จจริงและเสนอรายงานต่อวุฒิสภาเพื่อการถอดถอนบุคคลออกจาก

                      ตำแหน่ง

                              (3) ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนเพื่อดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทาง                    การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1

                      การเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูง
   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161