Page 152 - kpi17073
P. 152
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16 151
ความท้าทายสำคัญอยู่ที่กระบวนการสรรหาและแต่งตั้งที่รัฐธรรมนูญกำหนด สามารถ
คัดสรรผู้มีความรู้ความสามารถที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Specialist) และคัดสรรผู้มี
คุณลักษณะสำคัญที่รัฐธรรมนูญกำหนดคือ ก.ก.ต.ต้องมี “ความเป็นกลางทางการเมืองและมี
ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์” และกรรมการ ป.ป.ช. “นต้องเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่
ประจักษ์และมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด” ได้หรือไม่ ในขณะ
ที่กรอบหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดสรรในชั้นคณะกรรมการสรรหา หรือชั้นพิจารณาลงมติเลือก
หรือให้ความเห็นชอบของวุฒิสภาไม่เป็นที่ปรากฎต่อสาธารณะโดยเปิดเผย
ในชั้นการสรรหาและแต่งตั้ง พบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหา
ซึ่งกำหนดจำกัดอยู่ในวงแคบ ซึ่งฝ่ายตุลาการเข้ามามีบทบาทอย่างสูงในการสรรหาแต่งตั้ง ก.ก.ต.
และ คณะกรรมการ ป.ป.ช. กล่าวคือ คณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้ง ประกอบด้วย
ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทน
ราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือก 1 คน และ
บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดคัดเลือก 1 คน ดำเนินการสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติ
และไม่มีลักษณะต้องห้าม 3 คน และที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาสรรหาอีก 2 คน เสนอต่อวุฒิสภา
ส่วนคณะกรรมการสรรหากรรมการ ป.ป.ช. ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธาน
ศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภา
ผู้แทนราษฎร ดำเนินการสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเสนอต่อวุฒิสภา
เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นประธานและกรรมการ ป.ป.ช.รวม 9 คน
การให้บทบาทฝ่ายตุลาการหรือศาลเข้ามาในกระบวนการสรรหาแต่งตั้ง ก.ก.ต. และ
คณะกรรมการ ป.ป.ช.อย่างมาก โดยขาดการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนอื่นๆ ของสังคม ไม่ว่าจะเป็น
ภาคประชาชน ภาควิชาการ ภาควิชาชีพ หรือสื่อมวลชน ทำให้การสรรหาและแต่งตั้งจำกัดอยู่ใน
วงแคบเฉพาะนักกฎหมายหรือผู้พิพากษา ขาดมุมมองหรือมิติอื่นๆ ที่ช่วยเติมเต็มและทำให้
องค์กรอิสระแสดงบทบาทตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งไปกว่านั้น ยังมี
ผลกระทบต่อบทบาทของฝ่ายตุลาการในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งต้องเป็นผู้ชี้ขาดสุดท้ายเมื่อมี
ข้อพิพาทหรือข้อโต้แย้งต่างๆ ซึ่งโดยหลักแล้วต้องการความเป็นอิสระ เป็นกลาง ไม่เกี่ยวข้องหรือ
เป็นผู้มีส่วนได้เสียกับคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือการไม่เกี่ยวข้องกับฝักฝ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
ไม่เฉพาะแต่ฝ่ายการเมืองเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐทั้งหมดด้วย
ในชั้นการพิจารณาของวุฒิสภา วุฒิสภามีอำนาจ “ให้ความเห็นชอบ” หรือ “ไม่ให้ความ
เห็นชอบ” เท่านั้น หากไม่ให้ความเห็นชอบ อำนาจชี้ขาดจะเป็นของคณะกรรมการสรรหาฯ ด้วย
การมีมติเอกฉันท์ หรือด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา จะเห็น
ว่าอำนาจของวุฒิสภาที่ถือว่าเป็นผู้แทนปวงชน มีอยู่อย่างจำกัด การพิจารณาให้ความเห็นชอบต้อง
เป็นไปตามที่คณะกรรมการสรรหาเสนอรายชื่อมาเท่านั้น และสุดท้ายหากไม่เห็นชอบก็ต้องส่ง
กลับให้คณะกรรมการ สรรหาหรือที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาตัดสินชี้ขาด การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1