Page 147 - kpi17073
P. 147
146 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16
สัมพันธ์ทางอำนาจตามความชำนาญเฉพาะด้าน (Specialization) มีการแบ่งงานกันทำอย่างเป็น
อิสระ แต่มีการตรวจสอบและถ่วงดุลซึ่งกันและกันตามกรอบอำนาจหน้าที่
การสถาปนาองค์กรอิสระเข้ามาในโครงสร้างอำนาจรัฐของไทยนั้น เป็นส่วนหนึ่งของ
กระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย ที่พยายามหาแนวทาง กลไก มาตรการในการป้องกันแก้ไข
ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการศึกษาสำรวจสภาพสังคมวิทยาการเมืองไทย มีการศึกษาข้อมูลทางวิชา
การเป็นฐานในการดำเนินการ และใช้วิธีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือกำหนดหลักการไว้ในกฎหมาย
สูงสุดคือรัฐธรรมนูญ จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็น “แนวความคิดที่จะใช้รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร
ให้เป็นเครื่องมือในการกำหนดรูปแบบการปกครองและกำหนดกลไกอันเป็นโครงสร้างพื้นฐาน
(infra-structure) ในการจัดองค์กรบริหารของรัฐ” หรือ “Constitutionalism” ตามแนวคิด
ของท่านอาจารย์อมร จันทรสมบูรณ์ ซึ่งมีการใช้รูปแบบดังกล่าวในการปฏิรูปทางการเมืองของ
หลายประเทศ
แนวทางการปฏิรูปทางการเมืองการปกครองของไทย และประเทศในภูมิภาคเอเชียมุ่งเน้นที่
การสร้างกลไกหรือมาตรการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาหลัก 2 ประการเช่นเดียวกัน ได้แก่ การ
เข้าสู่อำนาจทางการเมืองการปกครองและการใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบหรือมีการทุจริตต่อหน้าที่และ
ทุจริตคอร์รัปชั่น เครื่องมือหลักที่ใช้คือรัฐธรรมนูญและกฎหมายกำหนดให้มีกลไกและมาตรการ
ทำให้การเข้าสู่อำนาจรัฐช่องทางหลักคือการเลือกตั้งเป็นไปด้วยความสุจริตเที่ยงธรรม มีการ
แข่งขันกันโดยเสรี ภายใต้การจัดการหรือควบคุมดูแลขององค์กรที่มีความเป็นอิสระและเป็นกลาง
ในที่นี้คือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง และเมื่อได้เข้าไปใช้อำนาจรัฐแล้ว ยังคงต้องมีเครื่องมือ
ติดตามตรวจสอบและลงโทษกรณีมีการใช้อำนาจโดยมิชอบ ซึ่งใช้มาตรการทางกฎหมายเป็นหลัก
โดยใช้กระบวนการพิจารณาถอดถอนบุคคลดังกล่าวออกจากตำแหน่ง หรือกระบวนการยุติธรรม
ทางอาญา หรือมาตรการตรวจสอบทางการเมือง ที่เชื่อมโยงกับการตรวจสอบด้วยกระบวนการ
ยติธรรมทางอาญา ทั้งนี้ โดยการเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็ง รวมไปถึงหลักประกัน
ความเป็นอิสระและเป็นกลางขององค์กรที่มีบทบาทอำนาจหน้าที่ในการไต่สวนข้อเท็จจริง เพื่อ
จัดทำรายงานเสนอต่อองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดต่อไป นั่นคือ คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม
การทุจริตนั่นเอง
แนวทางการปฏิรูปการเมืองการปกครองดังกล่าว สอดคล้องกับหลักการของประชาธิปไตย
สมัยใหม่ที่มุ่งเน้นการกรองตัวแทนเข้าสู่อำนาจในขั้นตอนที่ 1 รวมทั้งขั้นตอนที่ 2 การควบคุม
การใช้อำนาจของตัวแทนให้กระทำการเพื่อประโยชน์ของประชาชนหรือส่วนรวม (นิยม รัฐอมฤต
และคณะ, 2552)
อย่างไรก็ตาม แปดทศวรรษของประชาธิปไตยไทยเรายังคงเผชิญกับวิกฤติการณ์เกี่ยวกับ
การเข้าสู่อำนาจรัฐและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ดังนั้น การศึกษาวิเคราะห์ทบทวนแนวทาง
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1 การปฏิรูปด้วยการจัดให้มีองค์กรอิสระเพื่อรับผิดชอบในเรื่องดังกล่าวจึงเป็นเร่งเร่งด่วนและสำคัญ
ยิ่งต่อแนวทางการปฏิรูปประเทศในระยะต่อไปนี้ เนื่องจากประชาธิปไตยที่สมบูรณ์นั้นไม่อาจเกิด
ขึ้นได้หากปราศจาก ความสุจริตและชอบธรรมในการมีและใช้อำนาจ ซึ่งหมายความรวมถึงการมี
และมีและใช้อำนาจขององค์กรอิสระที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจในการตรวจสอบด้วยเช่นกัน