Page 145 - kpi17073
P. 145

144     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16


                  ผู้กระทำความผิดได้ แม้มีกลไกการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน ตรวจสอบการ
                  ประพฤติมิชอบในวงราชการ หรือตรวจสอบทางวินัย ทางอาญา แต่กลไกการตรวจสอบดังกล่าว

                  ก็มีข้อจำกัดที่ไม่บรรลุผลสัมฤทธิ์ในทางปฏิบัติได้ ทั้งๆ ที่สังคมทราบว่า มีการกระทำความผิดจริง
                  เช่นนี้จึงทำให้สังคมไม่เชื่อมั่นต่อบุคลากรและสถาบันทางการเมือง รวมถึงระบบการเมือง
                  การปกครองด้วย


                       โจทย์หลักของการปฏิรูปการเมืองการปกครองไทย คือ 1. การส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและ

                  การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ทำให้เป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory
                  Democracy) กับประชาธิปไตยทางผู้แทน (Representative Democracy) 2. การทำให้การเมือง
                  การปกครองและการบริหารราชการแผ่นดินสุจริตและมีความชอบธรรมในการใช้อำนาจ

                  3. การทำให้สถาบันทางการเมืองทั้งรัฐบาลและรัฐสภามีเสถียรภาพ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
                  (บวรศักดิ์  อุวรรณโณ, 2546) ซึ่งเราตอบโจทย์หรือใช้กระบวนการประชาธิปไตยตามแนวทาง

                  ลัทธิรัฐธรรมนูญนิยม (Constitutionalism) ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในโครงสร้าง
                  อำนาจรัฐหรือการเมืองการปกครอง ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นการทำให้เป็นระบบรัฐสภาที่มีเหตุมีผล
                  (Rationalize Parliamentary System) นั่นเอง


                       ในการนี้ กำหนดแนวทางการสร้างความสุจริตและความชอบธรรมในทางการเมืองและ

                  การบริหารราชการแผ่นดิน โดยการสร้างระบบการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจในทุกระดับ
                  เริ่มจากการลดและขจัดการซื้อเสียงและเปิดโอกาสให้คนมีความสามารถเข้าสู่ระบบการเมือง
                  การกำหนดกลไกและมาตรการป้องกันการทุจริตในตำแหน่ง และการเพิ่มระบบและองค์กร

                  ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐให้ครอบคลุมทุกด้าน ด้วยการที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้มี “องค์กร
                  ตรวจสอบ” หรือ “องค์กรอิสระ” เพิ่มเข้ามาในระบบโครงสร้างอำนาจรัฐเพื่อทำหน้าที่ในการ

                  ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ในขณะเดียวกันองค์กรเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐเช่นกัน
                  ดังนั้นจึงต้องอยู่ภายใต้การควบคุมตรวจสอบจากองค์กรอื่นๆ ในระบบการตรวจสอบด้วยเช่นกัน
                  จึงอาจกล่าวได้ว่าเป้าหมายของการปฏิรูปการเมืองการปกครองคือการทำให้โครงสร้างทางการ

                  เมืองการปกครองและการใช้อำนาจรัฐทั้งหมดอยู่ภายใต้หลักนิติรัฐ (The Rule of Law) หรือ
                  การปกครองด้วยกฎหมายโดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกติกาสูงสุดทางการเมืองการปกครอง ซึ่งทุกคน

                  ทุกฝ่ายต่างต้องผูกพันและใช้อำนาจภายในกรอบที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายกำหนด โดยไม่มี
                  องค์กรหนึ่งองค์กรใดมีอำนาจสูงสุดเด็ดขาดแต่เพียงองค์กรเดียว ทั้งนี้ โดยสอดคล้องกับแนวคิด
                  ทฤษฏีความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ (The Supremacy of the Constitution)


                       ด้วยสภาพปัญหาวิกฤตในสังคมการเมืองและการปกครองของไทยดังกล่าว ทำให้มีการ

                  สถาปนาองค์กรอิสระขึ้นในโครงสร้างอำนาจรัฐโดยกำหนดไว้ในกฎหมายสูงสุดและมีกฎหมาย
                  รองรับหลักการของรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ บทบัญญัติว่าด้วยองค์กรอิสระกระจายไปในหมวดต่างๆ
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1   แห่งชาติ อยู่ในหมวด 6 รัฐสภา ส่วนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
                  ได้แก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน


                  อยู่ในหมวด 10 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินอยู่ในหมวด 11

                  การตรวจเงินแผ่นดิน  ส่วนศาลทั้ง 3 ศาล ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม และ
   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150