Page 140 - kpi17073
P. 140

การประชุมวิชาการ
                                                                                         สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 16   139


                      ประเทศคีร์กีซสถาน หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญของคีร์กีซสถานได้วินิจฉัยให้กฎหมายสำคัญของ
                      ฝ่ายรัฐบาลตกไปถึงสองฉบับ ต่อมาในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2010 ประชาชนลงประชามติเห็นชอบ

                                                                       16
                      ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ให้ยุบเลิกศาลรัฐธรรมนูญ  ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า ประชาชนนั้น
                      เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย และอำนาจสถาปนาหรือก่อตั้งองค์กรทางการเมืองอย่างแท้จริง ดังนั้น
                      การใช้อำนาจรัฐใดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจที่เกี่ยวข้องกับปัญหาในทางการเมือง ความชอบธรรม

                      และการยอมรับจากประชาชนนั้นเป็นปัจจัยสำคัญอันหลีกเลี่ยงเสียไม่ได้


                            นอกจากนี้ ยังปรากฏว่าการที่รัฐธรรมนูญกำหนดช่องทางให้ฝ่ายสมาชิกรัฐสภาสามารถ
                      เสนอคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ง่ายเกินไป ก็ปรากฏว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2554 ถึง พ.ศ. 2557
                      สมาชิกพรรคฝ่ายค้าน หรือสมาชิกรัฐสภาฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลได้ใช้ช่องทางการตรวจสอบของ

                      ศาลรัฐธรรมนูญในการตรวจสอบกฎหมายสำคัญๆ ที่ทางรัฐบาลเสนอหลายฉบับ รวมทั้งใช้สิทธิ
                      เสนอคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญในแทบทุกเรื่องที่เป็นการใช้อำนาจของฝ่ายรัฐบาล เช่น ร่าง

                      พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลัง
                      กู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. .... (กฎหมายเงินกู้
                      สองล้านล้าน) ซึ่งเมื่อพิจารณาจากบุคคลผู้ใช้สิทธิ หรือริเริ่มใช้สิทธิเสนอชื่อต่อศาลรัฐธรรมนูญ

                      จะสังเกตพบว่าเป็นบุคคลกลุ่มเดิมๆ  ซึ่งแม้การใช้สิทธิเสนอคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญอาจจะเป็น
                                                       17
                      ช่องทางหนึ่งในการตรวจสอบของเสียงข้างน้อย แต่ถ้าหากช่องทางนั้นสามารถเข้าถึงหรือใช้สิทธิได้

                      ง่ายเกินไป ก็อาจจะกลายเป็นดาบสองคมในการสกัดขัดขวางการทำงานของฝ่ายรัฐบาลก็ได้


                      4. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญเพื่อ

                      การพิทักษ์รัฐธรรมนูญภายใต้ดุลยภาพทางการเมือง



                            ผู้เขียนมีความเห็น จากการศึกษาวิจัยว่า หากจะธำรงศาลรัฐธรรมนูญไว้ในระบบกฎหมาย
                      และการเมืองการปกครองไทยแล้ว อาจจำเป็นที่จะต้องลดอำนาจบางประการของศาลรัฐธรรมนูญลง

                      เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่เข้าปะทะหรืออยู่คนละฝ่ายกับฝ่ายประชาชนเสียง
                      ข้างมาก รวมถึงเพื่อมิให้กลายเป็นช่องทางในการเป็นตัวเลือกเพื่อคัดง้างกับฝ่ายรัฐบาลที่มีที่มา

                      จากเสียงข้างมากของประชาชนจนเกินไป และในเมื่อศาลรัฐธรรมนูญนั้นมีบทบาทที่ดีเด่นในการ
                      คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนผ่านการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของ
                      กฎหมายแล้ว ก็สมควรที่จะถือว่าอำนาจดังกล่าวเป็นอำนาจหน้าที่หลัก โดยปรับปรุงให้มีความ

                      เหมาะสมชัดเจนยิ่งขึ้นในการเป็นองค์กรผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญและสิทธิเสรีภาพของประชาชน และ
                      ทบทวนลดอำนาจหน้าที่ในอันที่จะเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมือง หรืออาจก่อความขัดแย้ง

                      ทางการเมือง ดังนี้

                         16   BBC. Q&A: Kyrgyzstan referendum. http://www.bbc.com/news/10405546

                         17   จากข้อสังเกตที่พบในคำวินิจฉัยและคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญในช่วงเวลาดังกล่าว พบว่า ถ้าผู้เสนอหรือริเริ่มเสนอ
                      คำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จะได้แก่กลุ่มของนายวิรัตน์ กัลยาศิริ หากผู้ริเริ่มเป็น
                      สมาชิกวุฒิสภา จะได้กลุ่มของพลเอกสมเจตน์ บุญถนอม และนายไพบูลย์ นิติตะวัน ดูได้จาก คำวินิจฉัยศาล     การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1
                      รัฐธรรมนูญที่ 18-22/2555 ที่ 14/2556 ที่ 15-18/2556 ที่ 1/2557 และ ที่ 3-4/2557 เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมี
                      ปรากฎในคำสั่งคำร้องศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องอื่นๆ ที่ศาลไม่รับวินิจฉัยอีกเป็นจำนวนมาก
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145